ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2563 หรือ เมื่อหนึ่งปีก่อนหน้านี้ กลุ่มเยาวชนปลดแอก หรือ Free Youth ได้จัดการชุมนุมใหญ่บนท้องถนนรอบอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ซึ่งนับว่าเป็นการเคลื่อนไหวก้าวสำคัญที่นำไปสู่การเคลื่อนไหวยกระดับของกลุ่มต่างๆ ที่ไม่พอใจรัฐบาล โดย ณ ขณะนั้น ข้อเรียกร้องสำคัญ มีอยู่สามข้อ คือ ยุบสภา ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ และ หยุดคุกคามประชาชน
กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานยุติการตรวจโควิด 19 แก่แรงงานข้ามชาติใน “โครงการให้ความช่วยเหลือคนต่างด้าวด้านสาธารณสุข” อ้างสถานการณ์สาธารณสุขปัจจุบันที่ทำให้รับผู้ป่วยใหม่ไม่ไหว
กว่า 3 เดือนแล้วตั้งแต่มีการยื่นขอให้รัฐบาลเปิดเผยรายละเอียดสัญญาจัดซื้อวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด 19 กับบริษัท แอสตร้าเซเนก้า และ บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ ซึ่งเป็นข้อมูลของรัฐที่ต้องเปิดเผย ชวนดูตัวอย่างในอังกฤษ-อียู ที่เปิดสัญญาต่อสาธารณะทำให้ประชาชนเห็นชัดว่า เขียนรัดกุมหรือไม่อย่างไร
หลังจากเปิดข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ หรือ พ.ร.บ.ส่งเสริมสิ่งแวดล้อมฯ ก็พบว่า แค่การทำ CAR-MOB ไม่ได้เป็นความผิดตามกฎหมาย แต่ต้องมีการกระทำความผิดเป็นพิเศษ เช่น รวมกลุ่มที่ก่อให้เกิดการสัมผัสใกล้ชิดระหว่างบุคคล การใช้เสียงเกินค่ามาตรฐานที่กำหนด หรือ การขับรถโดยประมาทไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น เป็นต้น
ผ่านแค่ร่างเดียว! ที่ประชุมสภาลงมติ #แก้รัฐธรรมนูญ วาระที่ 1 รับแค่ร่างเดียว คือ การเสนอแก้ไขระบบเลือกตั้งไปใช้คล้ายระบบ 2540 ซึ่งเสนอโดยพรรคประชาธิปัตย์ ส่วนร่างที่เสนอให้ยกเลิกอำนาจ ส.ว. เลือกนายกฯ ไม่ผ่านเพราะเสียงของ ส.ว. ไม่เพียงพอ
23 มิถุนายน 2564 ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา ซึ่งประกอบไปด้วย ส.ส. และ ส.ว. มีนัดพิจารณาญัตติแก้รัฐธรรมนูญแบบ "รายมาตรา" รวมกัน 13 ฉบับ โดยประเด็หลักที่มีการอภิปรายอย่างกว้างขวางคือ เรื่องอำนาจของ ส.ว. ในการร่วมเลือกนายกรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 กับ การจำกัดอำนาจของ ส.ส. ในการแปรญัตติงบประมาณ และการแทรกแซงการดำเนินงานของราชการ ตามมาตรา 144 กับ 185 ตามลำดับ
ในศึกแก้รัฐธรรมนูญภาคสอง หนึ่งในประเด็นหลักที่พรรคการเมืองทั้งฝ่ายรัฐบาลและพรรคฝ่ายค้านต่างอภิปรายตรงกัน คือ การยกเลิก มาตรา 272 ที่ให้ ส.ว. มีอำนาจเลือกนายกรัฐมนตรีในช่วงห้าปีแรกของบทเฉพาะกาล แต่ทว่าประเด็นดังกล่าวก็นำไปสู่การลุกขึ้นประท้วงของฝ่าย ส.ว. อาทิ กิตติศักดิ์ รัตนวราหะ ยืนยันย้ำเตือนว่า อำนาจ ส.ว. มาจากการออกเสียงประชามติจาก “พี่น้องประชาชน 16 ล้านคน”
นับแต่คสช. รัฐประหารปี 2557 คสช. พยายามวางฐานอำนาจไว้ในกฎหมายสูงสุดอย่างรัฐธรรมนูญ ที่ชัดเจนที่สุด คือ การกำหนดให้มี ‘ส.ว. แต่งตั้ง’ ที่คัดเลือกมาเองเพื่อเป็นหลักประกันการสืบทอดอำนาจ ในวาระการ #แก้รัฐธรรมนูญ ชวนดู 4 เหตุผลหลักที่ต้องยกเลิกส.ว.ตัวแปรสำคัญในการรื้อระบอบประยุทธ์
การแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 นำมาสู่ข้อถกเถียงเกี่ยวกับระบบเลือกตั้ง โดยมีการเสนอให้กลับไปใช้แบบรัฐธรรมนูญ 2540 แต่การเสนอแก้ไขถูกกล่าวหาว่า จะช่วยขยายการสืบทอดอำนาจให้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ข้อกล่าวหาที่จริงหรือไม่ และระบบเลือกตั้งแบบไหนที่เหมาะกับประเทศไทย
ศึก #แก้รัฐธรรมนูญ ภาคสองที่กำลังจะเกิดขึ้นในวันที่ 22-24 มิถุนายน 2564 ข้อเสนอสำคัญที่พรรคการเมืองทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาล ยกเว้นพรรคพลังประชารัฐและพรรคชาติไทยพัฒนา พร้อมใจกันยื่น คือ การตัดอำนาจ ส.ว. ซึ่งในการแก้ไขเรื่องดังกล่าวคงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องอาศัยเสียงเห็นชอบจากตัว ส.ว. เองไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 หรือประมาณ 84 คนจากเสียงทั้งหมด 250 คน