หลังจากที่ถูก “แช่แข็ง” มานับตั้งแต่การรัฐประหาร คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้เคาะให้วันที่ 28 พฤศจิกายน 2564 เป็นวันที่ประชาชนที่มีชื่ออยู่ในพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) จะได้เลือกตั้งสมาชิกสภา อบต. และนายก อบต. หลังจากที่ได้เริ่มเลือกตั้งท้องถิ่นครั้งแรกไปแล้วในระดับจังหวัด คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ไปก่อนเมื่อปลายปี 2563 โดยครั้งสุดท้ายที่มีการจัดเลือกตั้งอบต. ก็ต้องย้อนกลับไปถึงปี 2557 หรือเมื่อเจ็ดปีมาแล้ว
การปรากฏตัวขึ้นของกลุ่มผู้ชุมนุม “ทะลุแก๊ซ” เมื่อช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ได้นำไปสู่การปะทะอย่างต่อเนื่องระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่ตำรวจ ณ บริเวณแยกดินแดง ความรุนแรงที่เกิดขึ้นส่งผลให้มีการจับกุมผู้ชุมนุมซึ่งรวมถึงเด็กและเยาวชนจำนวนมาก ทั้งนี้ กระบวนการและขั้นตอนในการจับกุมเด็กและเยาวชนนั้นมีความแตกต่างจากกระบวนการที่ใช้เมื่อจับกุมผู้ต้องหาที่เป็นผู้ใหญ่ โดยกฎหมายหลักที่ใช้ก็คือ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ
10 กันยายน 2564 ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาเห็นชอบร่าง #แก้รัฐธรรมนูญ “แก้ระบบเลือกตั้ง” ให้กลับไปใช้บัตรสองใบ ซึ่งมีความ “คล้ายคลึง” กับระบบเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ 2540 อย่างไรก็ตาม ทั้งสองระบบเลือกตั้งก็ไม่ได้เหมือนกันทั้งหมดเสียทีเดียว แต่มีจุดต่างสำคัญอยู่ที่เกณฑ์คะแนนขั้นต่ำที่พรรคการเมืองจะได้ ส.ส. บัญชีรายชื่อ
การลงมติ #แก้รัฐธรรมนูญ ครั้งนี้ เห็นชอบ 472 เสียง ไม่เห็นชอบ 33 งดออกเสียง 187 เสียง และยังได้รับเสียงเห็นชอบจาก ส.ว. ถึง 149 เสียง นับว่าเป็นปรากฎการณ์ "พลิกโผ" ที่หลายฝ่ายคาดกันว่าร่าง #แก้รัฐธรรมนูญ จะถูกคว่ำด้วยเสียงของส.ว.
10 กันยายน 2564 ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาเห็นชอบแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 สำเร็จเป็นครั้งแรก การแก้ไขครั้งนี้เกี่ยวข้องกับระบบเลือกตั้ง โดยหัวใจของการแก้ไขคือ การแก้ไขให้มีบัตรเลือกตั้งสองใบ และให้มี ส.ส.เขต 400 คน และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 100
คณะกรรมการกสทช. ชุดแรกดำรงตำแหน่งมาอย่างยาวนานเป็นเวลาถึง 10 ปี นับตั้งแต่ปี 2554 สาเหตุที่อยู่มาได้นานก็เพราะสภาแต่งตั้งของ คสช. ช่วยกันคว่ำกระดานยื้อเวลาการสรรหาชุดใหม่ออกไปเรื่อยๆ ประกอบกับ คสช. ก็ใช้อำนาจ "มาตรา44" ระงับการสรรหากรรมการชุดใหม่
9 สิงหาคม 2564 มีการเผยแพร่เอกสารที่ถูกระบุว่าเป็นข้อมูล "ลับที่สุด" ในโลกออนไลน์ โดยเอกสารดังกล่าวคาดว่าเป็นของกองบังคับการตำรวจตรวจคนเข้าเมือง และประกอบไปด้วยข้อมูลของประชาชน ได้แก่ บรรดานักกิจกรรมหรือนักเคลื่อนไหวทางการเมือง นักการเมือง สื่อมวลชน นักวิชาการ และภาคประชาชน รวมแล้ว 183 รายชื่อ และข้อมูลบัญชีโซเชียลมีเดียอีก 19 บัญชี ซึ่งรายชื่อเหล่านี้ถูกระบุสถานะในเอกสารว่าเป็นกลุ่ม Watchlist หรือกลุ่มที่รัฐกำลังจับตา
31 ส.ค.–3 ก.ย. 64 เป็นช่วงเวลาของการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลประยุทธ์ หนที่สาม แม้การอภิปรายครั้งนี้จะไม่ล้มรัฐบาลประยุทธ์ได้ทันที แต่ความสำคัญอยู่ที่การลงคะแนนที่แตกต่างมากน้อยกันของรัฐมนตรีซึ่งอาจสะเทือนถึงความสัมพันธ์ภายในพรรคร่วมรัฐบาล
ประกาศ DES มีผลใช้บังคับตั้งแต่ 14 สิงหาคม 2564 เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกำหนดมาตรฐานการเก็บรักษาข้อมูลและส่งเสริมธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ให้มีความน่าเชื่อถือ และเก็บข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ใช้รวบรวมพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ และความผิดฐานต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์
แม้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องระบบเลือกตั้งที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นผู้เสนอจะคล้ายคลึงกับระบบเลือกตั้งในรัฐธรรมนูญ 2540 แต่ความแตกต่างคือไม่มีเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำของพรรคที่จะได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ การไม่กำหนดเกณฑ์ขึ้นต่ำนี้จะทำให้พรรคขนาดเล็กมีโอกาสเข้าสู่สภามากขึ้นแต่ก็จะเกิด "เบี้ยหัวแตก”