ก่อนจะไปถึงวันให้ความเห็นชอบผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี อยากชวนย้อนดูว่าในปี 2562 สมาชิกวุฒิสภาเคยอภิปรายสนับสนุนพล.อ.ประยุทธ์ไว้ว่าอย่างไรบ้าง
ความเป็นไปได้หนึ่งของการเลือกนายกรัฐมนตรีคือสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ที่มาจากการแต่งตั้งทั้ง 250 คน ขวางการจัดตั้งรัฐบาล โดยการ “งดออกเสียง” เพื่อไม่ให้แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีคนใดได้เสียงถึงกึ่งหนึ่งของรัฐสภา สำรวจความเป็นไปได้ในกรณีที่ ส.ว. เลือกงดออกเสียงจนไม่มีนายกรัฐมนตรี
การเลือกตั้งปี 2566 ยังคงเป็นการเลือกตั้งภายใต้ "กติกาพิเศษ" ที่ส.ว. 250 คน ที่คสช.เป็นผู้แต่งตั้ง จะร่วมเลือกนายกรัฐมนตรีกับส.ส.ที่ประชาชนเลือกตั้ง ในการเลือกตั้งครั้งนี้ส.ว.จึงยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะชีขาดว่าบุคคลใดจะได้เป็นนายกรัฐมนตรี และหลังการเลือกตั้ง 2566 ส.ว.บางส่วนได้ออกมาได้ออกมาแสดงจุดยืนเกี่ยวกับการให้ความเห็นชอบคนที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว
แม้ผลการเลือกตั้ง 2566 จะพลิกโผ อดีตพรรคฝ่ายค้านรวบรวมเสียงข้างมากได้ ขณะที่พรรคสอง ป. ประยุทธ์-ประวิตร อดีตหัวหน้าและรองหัวหน้า คสช. มีคะแนนนิยมน้อยลง อย่างไรก็ดี หมากที่ คสช. วางไว้ อย่าง "ส.ว.ชุดพิเศษ" ที่มีอำนาจโหวตเลือกนายกฯ ร่วมกับ ส.ส. ยังอยู่เลือกนายกฯ ที่มาจากการเลือกตั้ง 2566
หลังการเลือกตั้งทั่วไป 2566 ประเทศไทยกำลังเดินหน้าเข้าสู่สภาวะ ‘ไร้รัฐบาลที่มีอำนาจเต็ม’ โดยที่ผ่านมาการเลือกตั้งไทย 27 ครั้ง มีระยะเวลาที่แตกต่างกัน ต่อไปนี้คือหกอันดับการจัดตั้งรัฐบาลในระยะเปลี่ยนผ่านจากรัฐบาลเก่าสู่รัฐบาลใหม่ที่ยาวนานที่สุดของประเทศไทย
เครือข่ายประชาชนสังเกตการณ์เลือกตั้ง’66 มีความกังวลใจว่าความล่าช้า และไม่ชัดเจนของกระบวนการรับรองส.ส. ส่งผลต่อความเชื่อมั่นและความต้องการของประชาชนในการจัดการเลือกตั้งของกกต. จึงเรียกร้องให้กกต. ประกาศงผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการโดยเร็วที่สุด
ส.ส. สองประเภทใช้วิธีการคำนวณต่างกัน โดยเฉพาะแบบแบ่งเขตที่ไม่ได้สะท้อนคะแนนนิยมพรรค แต่มักขึ้นอยู่กับปัจจัยในพื้นที่ อาจจะทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างที่นั่งทั้งหมดที่พรรคการเมืองได้รับ กับคะแนนนิยมทั้งประเทศของพรรคที่สามารถวัดจากคะแนนบัญชีรายชื่อ
ส.ส.ที่ได้ที่นั่งในสภาชุดที่ 25 อย่างน้อย 148 คนเปิดหน้าออกตัวย้ายพรรค ในจำนวนนี้ 142 คนลงสมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตและบัญชีรายชื่อในการเลือกตั้ง 2566 แต่มีเพียง 37 คนที่ไปถึงเส้นชัย
แม้ว่าหนทางสู่การเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ยังต้องเจอกำแพงขวางกั้นขนาดใหญ่ โดยเฉพาะสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ชุดพิเศษ แต่ ส.ว. ชุดพิเศษนี้ก็มีกำหนดเวลาไม่สามารถนั่งอยู่เพื่อขวางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 ได้ตลอดไป โอกาสที่จะผ่านด่านเหล่านี้ไปได้จึงยังเปิดกว้างอยู่ แต่ยังไม่ได้ราบรื่นนักเพราะต้องทำไปทีละขั้นตอน
ในช่วงเทศกาลหาเสียง ตามเวทีดีเบตหรือวงเสวนาหรือแม้แต่การให้สัมภาษณ์ หลายพรรคการเมืองที่ได้เข้าสภาจากการเลือกตั้ง 2566 เคยแสดงจุดยืนในประเด็นนิรโทษกรรมคดีความทางการเมืองไว้บ้างแม้อาจยังไม่มีนโยบายชัดเจน ชวนย้อนความจำกันว่าแต่ละพรรคมีความคิดเห็นอย่างไรกันบ้าง