เปิดร่าง “ยกเลิก 112” มาตราเดียว ประเด็นเดียว

*** หมายเหตุ : 1-14 กุมภาพันธ์ 2567 องค์กรภาคประชาสังคมรวมถึงนักกิจกรรมหลายกลุ่มในนาม “เครือข่ายนิรโทษกรรมประชาชน” เดิน Kick off แคมเปญ #นิรโทษกรรมประชาชน พร้อมเสนอร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมประชาชน นิรโทษกรรมให้ “ทุกข้อหา” ที่เกิดจากการแสดงออกทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็น คดีตามประกาศ/คำสั่งคสช. คดีพลเรือนในศาลทหาร คดีมาตรา 112 คดีพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ หรือคดีพ.ร.บ.ประชามติฯ เพื่อให้สภาพิจารณา

ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมประชาชน เป็นร่างกฎหมายคนละฉบับกับร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมประชาชน แต่ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมประชาชน มีเนื้อหาที่ยกเลิกคดีและการดำเนินคดี มาตรา 112 ด้วย สามารถดูรายละเอียดหรือลงชื่อเสนอร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมประชาชนได้ที่ https://amnestypeople.com

______________________________________________________________________________________________________

31 ตุลาคม 2564 ที่สี่แยกราชประสงค์มีการจัดกิจกรรมชุมนุมเพื่อประกาศข้อเรียกร้อง “ยกเลิก 112” หรือการเสนอให้ยกเลิกความผิดฐานดูหมิ่น หมิ่นประมาท แสดงความอาฆาตมาร้าย พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ที่อยู่ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 กิจกรรมนี้จัดขึ้นในนามคณะราษฎรยกเลิก112 หรือ ครย.112 ซึ่งมาจากการรวมกันของกลุ่มกิจกรรมหลายกลุ่มที่เห็นตรงกันในข้อเรียกร้องนี้

คณะราษฎรยกเลิก 112 ยังนำเสนอร่างกฎหมาย เพื่อให้ประชาชนใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 133 เข้าชื่อกันให้ครบ 10,000 คน และนำเสนอต่อรัฐสภา เพื่อพิจารณายกเลิกมาตรา 112 

Subscribe to get access

Read more of this content when you subscribe today.

โดยการยกเลิกมาตรา 112 ในประมวลกฎหมายอาญา ต้องเสนอเป็นร่างพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา ข้อเสนอในครั้งนี้เป็นข้อเสนอที่สั้นๆ ไม่มีรายละเอียดซับซ้อน มีประเด็นเดียว คือ ให้ยกเลิกมาตรา 112 มาตราเดียวออกจากประมวลกฎหมายอาญาเท่านั้น 

เหตุลในการเสนอยกเลิกมาตรา 112 เขียนไว้ดังนี้

“โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา เนื่องจากกฎหมายเกี่ยวกับความผิด ฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้ สําเร็จราชการแทนพระองค์ กลายเป็นเครื่องมือทางการเมืองที่รัฐบาลใช้ดําเนินคดีกับผู้ที่เห็นต่าง เป็นอุปสรรคสําคัญต่อการใช้เสรีภาพการแสดงออก และเป็นอุปสรรคต่อโอกาสของประชาชนที่จะได้ถกเถียงแลกเปลี่ยนกันถึงประวัติศาสตร์ของประเทศไทย สถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน และออกแบบอนาคตร่วมกัน ประกอบกับความไม่เหมาะสมท้ังในแง่ของบทกําหนดโทษที่สูงเกินสัดส่วนความไม่ชัดเจนของขอบเขตการกระทําที่เป็นความผิด สถานะที่เป็นความผิดต่อความมั่นคงทำให้การริเริ่มคดีเกิดขึ้นโดยใครก็ได้ และเพื่อให้สถาบันพระมหากษัตริย์ในฐานะสถาบันการเมืองที่ใช้ภาษีของประชาชนถูกตรวจสอบได้โดยประชาชน และโดยการวิพากษ์วิจารณ์โดยสุจริต หากกระทำสิ่งที่ละเมิดรัฐธรรมนูญหรือหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  โดยบุคคลทั้งหมดยังได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายหมิ่นประมาทและดูหมิ่น เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดาเพื่อรักษาไว้ซึ่งเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญ ตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล และตามกฎหมายระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีพันธะต้องปฏิบัติตาม จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้”

หากร่างพระราชบัญญัตินี้ถูกเสนอต่อสภา และผ่านการพิจารณาประกาศใช้ได้ ก็จะมีผลให้การดำเนินคดีภายใต้มาตรา 112 ทั้งหมดที่มีอยู่สิ้นสุดลงเพราะกฎหมายที่ใช้ในการดำเนินคดีถูกยกเลิก หากคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาก็ต้องจำหน่ายคดีออก หากจำเลยไม่ได้ประกันตัวก็จะได้รับการปล่อยตัวทันที และหากศาลมีคำพิพากษาไปแล้วให้จำเลยมีความผิดก็เท่ากับเป็นการล้างมลทินของผู้ต้องโทษเหล่านั้นด้วย ส่วนการคุ้มครองชื่อเสียงของพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ก็จะเป็นไปตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 328 328 และ 393 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้คุ้มครองชื่อเสียงของบุคคลธรรมดา ที่เป็นความผิดต่อส่วนตัวและมีข้อยกเว้นสำหรับการวิจารณ์โดยสุจริต

การเข้าชื่อเสนอกฎหมายสามารถทำได้ทั้งทางออนไลน์และออฟไลน์ หากต้องการเข้าชื่อออนไลน์สามารถเข้าไปที่เว็บไซต์ nomore112.org กรอกข้อมูลส่วนตัว และลงลายมือชื่อโดยการลากเส้นเขียนชื่อบนหน้าจอโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ต หากต้องการเข้าชื่อทางออฟไลน์สามารถทำได้โดยกากรอกข้อมูลและลงลายมือชื่อบนเอกสารหมายเลข 6 ไม่ต้องแนบสำเนาบัตรประชาชนหรือหลักฐานอื่นใด