เปิดรับบทความแชร์ประสบการณ์ วิธีการรับมือโควิด 19 ในต่างแดน

ชวนคนไทยที่อยู่ในต่างประเทศ หรือที่เคยอยู่ต่างประเทศ หรือที่มีคนใกล้ชิดอยู่ต่างประเทศ
หากพอมีเวลาระหว่างใช้ชีวิต Social Distancing ร่วมบอกเล่าเรื่องราวที่กำลังเกิดขึ้นนอกประเทศไทย
ทั่วโลกกำลังทำอะไร และเผชิญหน้ากับอะไร ภายใต้สถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรน่า 
เพื่อเป็นแบบอย่างให้ประเทศไทยเรียนรู้ และปรับตัวที่จะอยู่ให้ได้ โดยไม่มองข้ามหรือหลงลืมใคร

โดยการเขียนบทความ ความยาวไม่เกิน 5 หน้ากระดาษ
ส่งมาที่อีเมล [email protected] ภายในวันที่ 20 เมษายน 2563
เขียนชื่ออีเมลว่า “รีวิว โควิด 19 + ชื่อประเทศ” แถมแนะนำผู้เขียนสั้นๆ ให้ด้วยจะยิ่งดี
งานเขียนที่ได้ผ่านการคัดเลือกจำนวน 10 ชิ้น จะถูกเผยแพร่ที่เว็บไซต์และโซเชียลมีเดียของไอลอว์
โดยระหว่างการคัดเลือกไอลอว์จะทำงานร่วมกับผู้เขียน เพื่อแก้ไขปรับปรุงให้งานสมบูรณ์ที่สุด
ผู้เขียนจะได้ค่าตอบแทน 1,000 – 2,000 บาท ขึ้นอยู่กับความละเอียดและคุณภาพของเนื้อหา

 

ความคาดหวังเบื้องต้น

บทความที่ส่งเข้าร่วมกิจกรรมนี้ ควรจะต้องมีเนื้อหาที่ครอบคลุมประเด็นอย่างน้อย ดังนี้

1. กฎหมายและมาตรการทางนโยบายที่รัฐบาลของประเทศใดประเทศหนึ่ง เลือกใช้ในสถานการณ์โควิด 19 เช่น การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน การประกาศล็อคดาวน์ การประกาศเคอร์ฟิว การบริหารจัดการงบประมาณ มาตรการชดเชยเยียวยาสำหรับช่วยเหลือประชาชนในสถานการณ์ยากลำบาก

2. บรรยากาศของสังคม การปรับตัวของผู้คน วิถีชีวิตที่ต้องเปลี่ยนแปลงไปภายใต้กฎหมายและมาตรการตามข้อ 1. ทั้งในแง่ดีและแง่เสีย ควรจะมีมุมมองจากประสบการณ์ตรงของผู้เขียนหรือมีการสัมภาษณ์คนที่ใช้ชีวิตอยู่ในประเทศนั้นๆ ประกอบด้วย เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น โดยต้องไม่ลอกมาจากงานของคนอื่น

3. วิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของกฎหมาย และนโยบายที่รัฐบาลของประเทศนั้นเลือกใช้ เพื่อนำเสนอเป็นแนวทางสำหรับประเทศไทยว่า ควรทำหรือไม่ควรทำตาม เพราะเหตุใด

4. ประเด็นอื่นๆ ตามมุมมองและประสบการณ์ที่ผู้เขียนสนใจนำเสนอ

 

ข้อแนะนำเพิ่มเติมในการส่งบทความ

  • ใช้รูปแบบการเขียน กลวิธีการเล่าเรื่องอย่างไรก็ได้ ให้ง่ายสำหรับคนอ่านซึ่งอาจไม่มีพื้นฐานเกี่ยวกับประเทศนั้นๆ
  • การกล่าวถึงกฎหมาย มาตรการ หรือข้อมูลอื่นๆ ควรมีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
  • หากมีภาพถ่ายประกอบเรื่อง ที่ผู้เขียนถ่ายเอง หรือได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ส่งมาให้ใช้ประกอบการนำเสนอด้วย จะช่วยให้เรื่องมีน้ำหนักมากขึ้น
  • ผู้เขียนจะได้รับเครดิตในงานที่ได้รับคัดเลือกให้เผยแพร่ โดยจะเลือกใช้ชื่อจริงหรือนามปากกาก็ได้
  • หนึ่งคนส่งงานได้ชิ้นเดียว และควรนำเสนอเรื่องราวของประเทศใดประเทศหนึ่งเพียงประเทศเดียว หากส่งมาหลายชิ้นจะคัดเลือกเผยแพร่ไม่เกินหนึ่งชิ้นต่อคน
You May Also Like
อ่าน

ผ่านฉลุย! สส. เห็นชอบร่างกฎหมาย #สมรสเท่าเทียม วาระสาม ส่งไม้ต่อให้ สว.

27 มีนาคม 2567 สภาผู้แทนราษฎรมีมติ “เห็นชอบ” ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมในวาระสาม ส่งไม้ต่อให้วุฒิสภาพิจารณาสามวาระ
อ่าน

สมัครให้เยอะๆ และช่วยกระจายข้อมูล ประชาชนมีส่วนร่วมได้กับการเลือกสว.67

ระบบการเลือก สว. ในปี 2567 ยังเปิดกว้างให้ผลลัพธ์สุดท้ายออกมาได้หลากหลาย และการมีส่วนร่วมของประชาชนจะสำคัญมาก ทุกคนไม่ว่าจะมีสิทธิสมัครหรือไม่ก็ลงมือทำได้