ศาลรัฐธรรมนูญเปิดช่องทางพิเศษ ให้รัฐบาลผ่านงบแบบไม่ต้องผ่านสภา

ดูเหมือน ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2563 จะกลายเป็นมหากาพย์หนังม้วนยาว หลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ 2563 ไม่เป็นโมฆะ จากกรณี ส.ส.เสียบบัตรลงคะแนนแทนกัน อีกทั้งศาลรัฐธรรมนูญยังให้มีการนัดลงมติร่างกฎหมายดังกล่าวใหม่อีกครั้ง

49501223417_0a97e0a16b_o

แต่รัฐธรรมนูญ มาตรา 143 ระบุว่า “ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจําปี ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม และร่าง พ.ร.บ.โอนงบประมาณรายจ่าย สภาผู้แทนฯ จะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 105 วัน นับแต่วันที่ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวมาถึงสภาผู้แทนฯ

ถ้าสภาผู้แทนฯ พิจารณาร่าง พ.ร.บ.นั้นไม่แล้วเสร็จภายในกําหนดเวลาตามวรรคหนึ่งให้ถือว่าสภาผู้แทนฯ เห็นชอบกับร่าง พ.ร.บ.นั้น และให้เสนอร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวต่อวุฒิสภาเพื่อพิจารณา” 

ซึ่งหมายความว่า ถ้าจะมีการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ อีกครั้ง ต้องเป็นไปตามกรอบเวลาที่รัฐธรรมนูญกำหนด นั่นคือ 105 วัน มิเช่นนั้นจะถือว่า สภาผู้แทนฯ ได้ให้ความเห็นชอบร่างกฎหมายที่รัฐบาลเสนอโดยไม่ได้มีการแก้ไขใดๆ

ทว่าหากนับวันตั้งแต่ ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ 2563 ได้เข้าสู่การพิจารณา ไปจนถึงวันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้มีการลงมติใหม่นั้น จะถือว่า ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ ได้เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนฯ มาแล้วไม่น้อยกว่า 114 วัน 

โดยมีลำดับเวลาการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ 2563 ดังนี้

  • 17 ตุลาคม 2562 สภาผู้แทนฯ พิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ 2563 วาระแรก
  • 11 มกราคม 2563 สภาผู้แทนฯ เห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ 2563 วาระสาม (+87 วัน)
  • 20 มกราคม 2563 นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ เปิดเผย มี ส.ส.ลงคะแนนแทนกัน (+9 วัน)
  • 24 มกราคม 2563 ชวน หลีกภัย ยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของ ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ 2563 (+4 วัน)
  • 29 มกราคม 2563 ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของ ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ 2563 (+5 วัน)
  • 7 กุมภาพันธ์ 2563 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ 2563 ไม่โมฆะ ให้นัดลงมติใหม่ (+9 วัน)

รวมแล้ว 114 วัน

You May Also Like
อ่าน

ส่องวาระศาลรัฐธรรมนูญ-องค์กรอิสระ สว. 67 เคาะเลือกคนใหม่ได้เกินครึ่ง

พฤษภาคม 2567 สว. ชุดพิเศษ จะหมดอายุแล้ว แต่ สว. ชุดใหม่ ยังคงมีอำนาจสำคัญในการเห็นชอบตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ ภายใต้วาระการดำรงตำแหน่งของ สว. ชุดใหม่ จะมีอำนาจได้ “เกินครึ่ง” ของจำนวนตำแหน่งทั้งหมด
อ่าน

กรธ. ชุดมีชัย ออกแบบระบบ สว. “แบ่งกลุ่มอาชีพ”-“เลือกกันเอง” สุดซับซ้อน!

ระบบ “เลือกกันเอง” สว. 67 ที่ให้เฉพาะผู้สมัคร ซึ่งต้องจ่ายค่าธรรมเนียม 2,500 บาท มีสิทธิโหวต คิดค้นโดยคนเขียนรัฐธรรมนูญ 2560 นำโดยมีชัย ฤชุพันธุ์