ไอลอว์ขอเชิญชวนประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดพิมพ์ ‘คู่มือการเลือกตั้ง’

ไอลอว์ขอเชิญชวนประชาชนร่วมมีส่วนร่วมในการจัดพิมพ์ ‘คู่มือการเลือกตั้ง’

การเลือกตั้งครั้งนี้ไม่ง่ายเลย เพราะคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้วางกลไกการเลือกตั้งเอาไว้หมดแล้ว ซึ่งอาจก่อให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบที่ไม่เป็นธรรม นอกจากนี้ กลเกมการเลือกตั้งที่ คสช. ได้วางเอาไว้ ยังอาจทำให้เขาสามารถสืบทอดอำนาจได้อีก การเลือกตั้งครั้งนี้จึงสำคัญต่อพวกเราทุกคนมาก เพราะไม่ได้เป็นการเลือกแค่ “พรรคการเมืองที่ใช่ นักการเมืองที่ชอบ” แบบที่ผ่านมา แต่เป็นการ “เลือก” ว่าเราจะหลุดพ้นจาก คสช. หรือ จะต้องอยู่กับ คสช. ต่อไป

แต่นานเท่าไหร่แล้วที่เราไม่ได้เลือกตั้งรวมถึงยังมีคนรุ่นใหม่กว่า 7 ล้านคน ที่ยังไม่เคยเลือกตั้งมาก่อน และระบบการเลือกตั้งแบบใหม่ที่ คสช. สร้างขึ้นก็ดูซับซ้อนเหลือเกิน ทีมงานไอลอว์จึงจัดทำคู่มือที่จะช่วยติวเข้มระบบเลือกตั้งให้ประชาชนก่อนเข้าคูหา

ซึ่งคู่มือฉบับนี้ มีขนาดเล็กกระทัดรัด ง่ายต่อการพกพา จำนวน 48 หน้า มีทั้งเนื้อหาสรุประบบการเลือกตั้งแบบใหม่ที่ถูกออกแบบขึ้นโดยรัฐบาล คสช. อย่างเข้าใจง่าย เล่าผ่านการ์ตูน และอินโฟกราฟฟิค แบ่งออกเป็น 4 ตอน คือ 

  1. เรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้ง 
  2. วิธีการเลือกตั้ง วิธีการนับคะแนน และวิธีการจัดตั้งรัฐบาล
  3. ตัวเลือกในการเลือกตั้งครั้งนี้มีอะไรบ้าง 
  4. หลังการเลือกตั้งจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง

ไอลอว์ยังหวังว่าจะสามารถเผยแพร่คู่มือนี้ไปให้ประชาชนได้ทำความเข้าใจระบบการเลือกตั้งก่อนตัดสินใจลงคะแนนเสียง โดยจะแจกจ่ายก่อนการเลือกตั้งให้ได้มากที่สุด จัดพิมพ์ครั้งแรก จำนวน 100,000 เล่ม ในราคาเล่มละ 10 บาท รวมจำนวนเงินที่ต้องใช้ในการจัดพิมพ์ 1,000,000 บาท เราจึงขอเชิญชวนประชาชนทุกคน มีส่วนร่วมในการเลือกอนาคตครั้งนี้ ด้วยการร่วมเป็นเจ้าภาพจัดพิมพ์หนังสือคู่มือ “รู้ก่อนกา กลเกมการเลือกตั้ง”

ทางทีมงานคาดว่าจะจัดพิมพ์คู่มือชุดแรกให้แล้วเสร็จภายใน 1 กุมภาพันธ์ 2562 

ท่านสามารถร่วมเป็นเจ้าภาพได้ตามกำลังศรัทธา ไม่จำกัดจำนวนเงิน ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

โอนเงินมาที่ เลขบัญชี 278-206070-0
ชื่อบัญชี โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) 
ธนาคารไทยพาณิชย์

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร 02-002-7878

You May Also Like
อ่าน

ศาลรธน. ไม่รับคำร้อง ปมรัฐสภาถามเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ทำประชามติกี่ครั้ง ทำตอนไหน

17 เมษายน 2567 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเไม่รับคำร้องที่รัฐสภาขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยปัญหาอำนาจหน้าที่ของรัฐสภาว่า รัฐสภาจะมีอำนาจในการพิจารณาแก้รัฐธรรมนูญได้เลยหรือต้องทำประชามติก่อน
อ่าน

เศรษฐาแถลง ประชามติ 3 ครั้งสู่รัฐธรรมนูญใหม่ “ห้ามแตะหมวดทั่วไป-หมวดพระมหากษัตริย์” ย้ำพร้อมแก้ พ.ร.บ.ประชามติ

23 เมษายน 2567 เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ระบุว่ารัฐบาลมีความเห็นสอดคล้องกับข้อสรุปของคณะกรรมการประชามติ ที่เห็นว่าควรมีการทำประชามติสู่รัฐธรรมนูญใหม่ทั้งสิ้นสามครั้ง ไม่แตะหมวดทั่วไปและหมวดพระมหากษัตริย์ และเน้นย้ำว่าควรมีการแก้ไข พ.ร.บ. ประชามติ ควบคู่กันไปด้วย