ร่าง พ.ร.บ.สภาพัฒน์ ใหม่ เปิดทางให้คสช. ยึดสภาพัฒน์-การทำแผนพัฒนาต้องสอดคล้องยุทธศาสตร์คสช.

ร่างพระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ร่าง ...สภาพัฒน์) เป็นร่างที่พัฒนาต่อยอดมาจาก ร่าง ...พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีตั้งแต่ 16 มกราคม 2561 ก่อนจะแก้ไขเพิ่มเติมและกลายร่างมาเป็นร่าง ...สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

 

หลัง ครม. มีมติเห็นชอบ ร่าง ...สภาพัฒน์ กฎหมายดังกล่าวได้ถูกบรรจุในระเบียบวาระการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จนวันที่ 26 กรกฎาคม 2561 สนช. ได้มีมติรับหลักการ(เห็นชอบวาระหนึ่ง) กฎหมายฉบับดังกล่าวไปเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2561

 

ทั้งนี้ การแก้ไขกฎหมายดังกล่าว อาจทำให้หลายคนสงสัยอยู่ว่าจะมีการเปลี่ยนอย่างไรบ้าง แล้วบทบาทหน้าที่ยังเหมือนเดิมอยู่หรือไม่ ดังนั้น เรามาเริ่มสำรวจที่มาที่ไปของ สศ. หรือ สภาพัฒน์และ ...สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับนี้กันดีกว่า

 

สศช. หรือ สภาพัฒน์ คืออะไร มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างมาอย่างไรแล้วบ้าง ?

 

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2493 ในสมัยจอมพล . พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยที่สอง โดยในระยะแรกใช้ชื่อว่าสภาเศรษฐกิจแห่งชาติมีหน้าที่เสนอความเห็นและคำแนะนำตลอดจนข้อชี้แจงต่อรัฐบาลในเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐกิจของประเทศ

 

ในปี 2501 ภายใต้การนำของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้มีการเปลี่ยนแปลงบทบาทหน้าที่ของสภาให้มีมากขึ้นกว่าเดิม โดยได้รับคำแนะนำจากคณะผู้เชี่ยวชาญจากธนาคารโลก เสนอแนะให้มีการปรับเปลี่ยนมีการจัดตั้งเป็นหน่วยงานกลางเพื่อทำหน้าที่วางแผนพัฒนาประเทศขึ้นมาเป็นการเฉพาะ ดังนั้นในปี 2502 จึงมีการปรับโครงสร้างการทำงานและเปลี่ยนชื่อของหน่วยงานแห่งนี้ใหม่เป็น "สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ" หรือที่ต่อมารู้จักกันในชื่อ สภาพัฒน์” 

 

ถัดมาปี 2515 ขณะนั้นจอมพลถนอม กิตติขจร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหลังการรัฐประหารในปี 2514 มีการนำการวางแผนพัฒนาสังคมมาใช้ควบคู่กับการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจด้วย จึงมีการเปลี่ยนชื่อใหม่อีกครั้งเป็น "สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ" ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้อย่างเป็นทางการจนปัจจุบัน อยู่ภายใต้สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีตลอดมา

 

จนกระทั้งปี 2561 ทหารได้เข้ามาบริหารประเทศอีกครั้งภายใต้ชื่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ได้มีการยกร่าง ...สภาพัฒน์ ฉบับใหม่ เพื่อปรับเปลี่ยนโครงสร้างและบทบาทอีกครั้ง

 

ร่าง ...สภาพัฒน์ ฉบับใหม่ มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง?

 

ร่าง ...สภาพัฒน์ ฉบับใหม่ มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างเกิดขึ้นกับหน่วยงานเดิม เช่น การเปลี่ยนชื่อเรียกบอร์ดบริหาร องค์ประกอบของคณะกรรมการ และบทบาทหน้าที่ ซึ่งพอจะสรุปสาระสำคัญของกฎหมายได้ดังนี้

 

(1) เปลี่ยนชื่อบอร์ดบริหารเป็นสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติย้อนกลับไปเหมือนยุคจอมพลสฤษดิ์

 

ร่าง ...สภาพัฒน์ ได้เปลี่ยนชื่อ สศช. เป็น สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งจะกลับไปคล้ายคลึงกับสภาพัฒน์ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ โดยมีการระบุไว้ในส่วนหลักการและเหตุผลด้วยว่า การแก้ไขในครั้งนี้เป็นไปในทำนองเดียวกับ ...สภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ ..2502 ซึ่งเป็นยุคที่จอมพลสฤษดิ์กำลังปกครองประเทศ

 

(2) เพิ่มตำแหน่งบอร์ดบริหาร โดยเพิ่มคณะกรรมการจากข้าราชการประจำ 4 ตำแหน่ง และเพิ่มคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอีก 5 ตำแหน่ง

 

ร่าง ...สภาพัฒน์ มาตรา 6 ได้ปรับรูปแบบและองค์ประกอบของบอร์ดบริหารใหม่ โดยกำหนดให้สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติประกอบด้วยประธานสภา 1 คน และกรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิอีกไม่เกิน 15 คน ที่เสนอโดยคณะรัฐมนตรี และกรรมการสภามาจากปลัดกระทรวงการคลัง เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการคณะการข้าราชการพลเรือน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ และผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย

 

การปรับเปลี่ยนดังกล่าวทำให้คณะกรรมการมีขนาดใหญ่ขึ้น จากเดิมที่มีเพียง 15 คน เป็น 23 คน โดยองค์ประกอบที่เพิ่มขึ้นมาคือ ตำแหน่งคณะกรรมการจากข้าราชการประจำ 4 ตำแหน่ง ได้แก่ ปลัดกระทรวงการคลัง เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ นอกจากนี้ ยังเพิ่มคณะกรรมการที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิอีก 5 ตำแหน่ง และตำแหน่งที่หายไปจากกฎหมายเดิมคือ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

 

(3) ปรับรูปแบบการทำงานให้อยู่ภายใต้คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ

 

ร่าง ...สภาพัฒน์ มีการแก้ไขปรับปรุงโดยให้ความสำคัญกับยุทธศาสตร์ชาติเป็นอย่างมาก ซึ่งจะเห็นได้จากมีคำว่ายุทธศาสตร์อยู่ในร่างกฎหมายถึง 21 คำ จากทั้งหมด 28 มาตรา โดยการปรับบทบาทให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ได้แก่

หนึ่ง กำหนดให้สภามีอำนาจและหน้าที่ในการกำหนดกรอบทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมทั้งของประเทศ และของโลก (มาตรา 7)

 

สอง การจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และสภาพัฒน์ต้องส่งแผนพัฒนาให้คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติพิจารณาก่อน (มาตรา 17)

 

สาม สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ก็ต้องมีคณะกรรมการประสานการดำเนินงานยุทธศาสตร์ชาติ ประเทศ เพื่อทำหน้าที่วิเคราะห์ ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นที่สภามอบหมาย (มาตรา 21)

 

(4) หน่วยงานรัฐต้องปฏิบัติตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พร้อมทั้งต้องรายงานให้สำนักงานสภาพัฒน์ทราบ

 

ร่าง ...สภาพัฒน์ มาตรา 19 กำหนดว่า เมื่อแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ประกาศใช้แล้ว ให้หน่วยงานรัฐต้องจัดทำแผนปฏิบัติการและงบประมาณเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมถึงต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่สภาพัฒน์กำหนด

 

นอกจากนี้ หน่วยงานรัฐยังมีหน้าที่ต้องรายงานผลการปฏิบัติงานให้สำนักงานสภาพัฒน์ทราบ และเพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามแผน ให้เป็นหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีในการกำกับดูแลและสนับสนุนให้หน่วยงานรัฐดำเนินการตามแผน

 

(5) สำนักงานสภาพัฒน์ มีอำนาจแต่งตั้งหรือจ้างผู้เชี่ยวชาญจากภาครัฐหรือเอกชนมาช่วยงานได้

 

ร่าง ...สภาพัฒน์ มาตรา 22 กำนหนดว่า เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ของสำนักงานสภาพัฒน์ ให้สำนักงานสภาพัฒน์สามารถดำเนินการแต่งตั้งบุคคลจากภาครัฐหรือเอกชนมาทำหน้าที่วิเคราะห์ปัญหาของประเทศและเสนอแนะการกำหนดเป้าหมายได้ รวมถึงยังสามารถดึงตัวเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานรัฐใดก็ได้มาปฏิบัติหน้าที่ในสำนักงานสภาพัฒน์ไม่เกิน 1 ปี นอกจากนี้ ยังให้อำนาจจ้างบุคคลทั้งในและต่างประเทศ สถาบันการศึกษา หรืออื่นๆ มาดำเนินการศึกษา วิจัย หรือปฏิบัติในเรื่องใดก็ได้

 

(6) ให้แต่งตั้งคณะกรรมการสภาพัฒน์ชุดใหม่ภายใน 180 หลังกฎหมายบังคับใช้ และให้แผนพัฒนาฯ ที่ออกในยุคคสช. มีผลบังคับใช้ไปจนถึงปี 2565

 

หลัง ร่าง ...สภาพัฒน์  มีผลบังคับใช้ ในส่วนของบทเฉพาะกาลกำหนดให้คณะกรรมการสศช. ชุดเดิมยังคงดำรงตำแหน่งไปก่อนแต่ไม่เกิน 180 วันหลังจากที่ ...ฉบับใหม่นี้ใช้บังคับ จนกว่าจะมีการแต่งตั้งประธานคณะกรรมการชุดใหม่ ทั้งนี้ หากกฎหมายประกาศใช้ในช่วงก่อนการเลือกตั้ง ก็จะเป็นการเปิดทางให้รัฐบาลคสช. เป็นผู้ดำเนินการแต่งตั้งบอร์ดบริหารของสภาพัฒน์ชุดใหม่

 

นอกจากนี้ ให้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (..2560 – 2565) ที่มีพระราชโองการเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2559 ยังมีผลบังคับใช้เป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตามกฎหมายนี้ไปจนถึงวันที 30 กันยายน 2565