ข้อเสนอให้นำโทษประหารชีวิตกลับมาใช้อีกครั้งในฟิลิปปินส์: บทล่าสุดของความรุนแรงอย่างเป็นระบบ

รัฐสภาชุดที่ 17 แห่งฟิลิปปินส์ได้เสนอให้นำโทษประหารชีวิตกลับมาใช้อีกครั้ง ผ่านสภาร่างกฎหมาย หมายเลข 1  มาตรการนี้ได้รับความเห็นชอบจากคณะลูกขุนสภายุติธรรม เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2559 และอาจถูกนำกลับมาพิจารณาในวาระที่สองในสภาใหญ่ในวันที่ 13 ธันวาคม มาตรการนี้ขัดแย้งโดยตรงต่อซึ่งสิทธิแห่งชีวิตตามมาตรา 19 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งชาติฟิลิปปินส์ ปี 1987 และพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศ ในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICPPR) และพิธีสารเลือกรับฉบับที่ 2 ซึ่งกล่าวไว้ว่า “ไม่มีผู้ใดภายใต้เขตอำนาจแห่งรัฐภาคีตามพิธีสารฉบับปัจจุบันนี้จำต้องถูกประหารชีวิต”  และ "แต่ละรัฐภาคีจะต้องใช้ทุกมาตรการที่จำเป็นเพื่อยกเลิกโทษประหารชีวิตภายใต้อำนาจแห่งรัฐนั้นๆ”
ข้อเสนอเรียกร้องให้มีการนำโทษประหารชีวิตกลับมาบังคับใช้ จะมีผลอย่างมากในการเพิ่มจำนวนผู้ใช้และผู้ค้ายาเสพติดที่จะถูกเพ่งเล็งโดยรัฐและตำรวจ เพื่อใช้บรรลุวัตถุประสงค์ทางการเมืองของประธานาธิบดีคนใหม่ ‘โรดริโก ดูเตอร์เต้’ ที่จะปราบปรามบุคคลที่พฤติกรรมต้องสงสัยเรื่องยาเสพติด
ข้อเสนอล่าสุดนี้แตกต่างอย่างมากจากแรงกดดันของนานาชาติต่อรัฐบาลของดูเตอร์เต้ให้ลงทุนในแนวทางลดความรุนแรง เพื่อปกป้องสุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ดีของชาวฟิลิปปินส์ และเพื่อหยุดยั้งการสังหารผู้ต้องสงสัยว่าใช้ยาเสพติดอย่างไม่เลือกหน้า การประกาศ "สงครามยาเสพติด" ของประธานาธิบดีดูเตอร์เต้ ก่อให้เกิดการตายของผู้ต้องสงสัยว่าใช้และค้ายาเสพย์ติดราว 2,004 ราย ภายใต้เงื้อมมือของเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ตามรายงานข้อมูลของตำรวจแห่งชาติฟิลิปปินส์ ซึ่งยังไม่นับนับรวมผู้ถูกกล่าวหาว่าใช้และค้ายาเสพติดที่ถูกฆ่าโดยมือปืนที่ระบุตัวไม่ได้เป็นจำนวนอีก 3,001 ราย
แรงกดดันดังกล่าวตั้งอยู่บนฐานของแนวคิดอันหนักแน่นที่ว่า ปัจเจกชนส่วนใหญ่ซึ่งถูกเพ่งเล็งโดยเจ้าหน้าผู้ใช้กฎหมายนั้นไม่ได้มีบทบาทสำคัญในขบวนการค้าขายยาเสพติด โดยมากจมอยู่กับความยากจนและตกเป็นเหยื่อของการขูดรีด ผลจากการศึกษารวบรวมข้อมูลทางเศรษฐกิจและสังคมซึ่งกระทำโดยกลุ่มผู้ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย (FLAG)  ชี้ให้เห็นว่า ผู้ถูกกักกันมากกว่าครึ่งที่รอโทษประหารในปี 2004 นั้นอยู่ในชนชั้นทางเศรษฐกิจและสังคมที่ต่ำที่สุด โดยมากมีการศึกษาต่ำ ทำงานไม่เต็มเวลา ไม่ได้ใช้สิทธิอย่างเต็มที่ในการเข้าถึงสุขอนามัยและน้ำที่เพียงพอ และส่วนใหญ่จมปลักอยู่ในความยากจน
การใช้ความรุนแรงอย่างไม่เลือกปฏิบัติต่อผู้ใช้และผู้ค้ายาเสพติดเป็นตัวอย่างของการแพร่หลายขึ้นของวัฒนธรรมการไม่ต้องรับผิดชอบ ของผู้บังคับใช้กฎหมายในฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2016 ตำรวจฟิลิปปินส์ได้ใช้กำลังมากเกินกว่าเหตุให้ถึงตายต่อกลุ่มชาวนาผู้ประท้วงในเมืองคิดพาวัน ส่งผลให้มีคนตายถึง 2 ราย เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2016 รถตู้ตำรวจหนึ่งคันขับพุ่งเข้าไปในการเดินขบวนของคนพื้นเมืองบริเวณหน้าสถานทูตสหรัฐอเมริกา ขณะกำลังเรียกร้องการเข้ามาอยู่ของทหารและอเมริกาในแผ่นดินของบรรพบุรุษของพวกเขา
ฟิลิปปินส์เป็นประเทศแรกในเอเชียที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตในรัฐธรรมนูญแห่งชาติปี 1987 กระทั่งประธานาธิบดีฟิเดล รามอสทำการฟื้นฟูโทษประหารในปี 1993 เพื่อจัดการกับปัญหาการเพิ่มขึ้นของอาชญากรรมในขณะนั้น และในที่สุด มันถูกยกเลิกอีกครั้งภายใต้การปกครองสมัยกลอเรีย มาคาปากัลป์ อาโรโย ในปี 2006
ภาพจาก  Felix R. Lopez
Proposal to reinstate capital punishment in the Philippines: The latest chapter in systematic violence 
The 17th Philippine Congress has proposed reinstating the death penalty through House Bill No. 1.The measure was approved by the House justice panel on the December 7, and may be brought back to the plenary session for a second reading on the December 13. This directly contravenes the enshrinement of the right to life in section 19 of the 1987 Philippines constitution as well as its international legal obligations towards the adhering to the International Covenant on Civil and Political Rights (ICPPR) and the Second Optional Protocol. The Second Optional Protocol to ICPPR states that “no one within the jurisdiction of a State Party to the present Protocol shall be executed” and that “each State Party shall take all necessary measures to abolish the death penalty within its jurisdiction.”
The proposal to reinstate the death penalty would severely increase the number of drug users and dealers that would be targeted by the state and police to achieve the political objectives of  the new President, Rodrigo Duterte, administration’s crackdown on ‘suspected drug personalities’. This latest proposal is a far cry from the international pressure on the Duterte administration to invest in harm reduction approaches to protect the health and well-being of the Filipino people and to cease the indiscriminate killings of suspected drug users. President Duterte’s self-declared ‘war on drugs’ has resulted in the deaths of an estimated 2,004  suspected drug users and dealers at the hands of the law enforcement officials from July 1 alone, according to the Philippine National Police’s own data. This is discounting the additional 3,001 alleged drug users and dealers killed by unidentified gunmen. 
Such pressure is based on the well-supported notion that the majority of individuals targeted by law enforcement authorities do not play a major role in drug trafficking operations, are often mired in poverty and are victims of exploitation. The results of a socioeconomic profiling study conducted by the Free Legal Assistance Group (FLAG) shows the more than half of the inmates on death row in 2004 belong to the lowest socioeconomic classes, are often undereducated, underemployed, do not enjoy access to adequate sanitation and water and are often mired in poverty.
Indiscriminate violence against drug users and traffickers are representative of the wider introduction of a culture of impunity by Philippine law enforcement. On April 1, 2016, the Philippine police used disproportionate lethal force against a group of farmers demonstrating in Kidpawan City, resulting in two fatalities. On October 19, 2016, a police van was driven through a rally of indigenous peoples demonstrating in front of the US embassy in Manila against alleged military and US presence on their ancestral lands. 
The Philippines was the first country in Asia to abolish the death penalty in its 1987 constitution, until President Fidel Ramos revived capital punishment in 1993 to address the rising crime rate at the time. It was eventually abolished under the administration of Gloria Macapagal-Arroyo in 2006.