ชุดนักโทษอาเซียน ASEAN Inmate Uniforms

ขณะที่ “ประชาคมอาเซียน” กำลังเดินทางมาในปี 2015 และขณะที่เรากำลังจะพูดคุยเรื่อง “ชุดนักโทษ” ว่าควรจะเป็นยังไงดี ควรจะมีหรือไม่มี มาแอบดูชุดนักโทษและกฎระเบียบเมื่อนำตัวผู้ต้องขังไปศาลของประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคอาเซียนกันสักหน่อย
ชุดนักโทษของแต่ละประเทศมีหลายแบบ แตกต่างไปตามเรือนจำ แตกต่างกันไปตามลักษณะประเภทของผู้ต้องขังที่ต้องการจะจัดแบ่ง และกฎระเบียบยังเปลี่ยนแปลงอยู่บ้างไม่คงที่ ประเทศไทยก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน คือ มีชุดหลายแบบตามลักษณะการใช้งานและตามช่วงเวลา ในที่นี้จึงสังเกตเน้นเฉพาะชุดที่ต้องใส่เวลาเดินทางมาศาล ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่จะได้พบปะพูดคุยกับผู้คนภายนอกมากที่สุด
บรูไน
เป็นประเทศที่มีข้อมูลน้อยมาก ยังไม่สามารถหาภาพถ่ายชุดนักโทษจริงๆ ได้ แต่ข้อมูลจากการสอบถาม ทราบว่าชุดนักโทษเป็นสีส้ม
กัมพูชา
ชุดนักโทษของกัมพูชาขณะอยู่ในเรือนจำเป็นสีน้ำเงินทั้งชุด มีแถบสีขาว ซึ่งใช้สำหรับคนที่ศาลพิพากษาแล้วว่ามีความผิด แต่สำหรับคนที่ถูกคุมขังระหว่างการดำเนินคดียังไม่มีคำพิพากษาของศาล จะเป็นสีน้ำตาลอ่อนทั้งชุด
เมื่อผู้ต้องขังเดินทางมาศาลก็ต้องใส่ชุดลักษณะเหมือนกับที่ใส่ในเรือนจำไปด้วย ผู้ต้องขังได้รับอนุญาตให้ใส่รองเท้าได้ โซ่ตรวนไม่ต้องใส่ ผู้ต้องขังปกติขณะเดินทางมาศาลจะต้องใส่กุญแจมือ แต่เมื่ออยู่ต่อหน้าศาลก็จะถอดออก
อินโดนีเซีย
เมื่อผู้ต้องขังเดินทางมาศาลไม่จำเป็นต้องใส่ชุดนักโทษ จะใส่ชุดอะไรก็ได้ ผู้ต้องขังได้รับอนุญาตให้ใส่รองเท้าได้ โดยปกติไม่ต้องใส่กุญแจมือหรือโซ่ตรวน ยกเว้นกรณีนักโทษในคดีคอรัปชั่นนอกจากใส่เสื้อผ้าอะไรก็ได้แล้วจะต้องใส่เสื้อกั๊กสีส้มลายแถบสีดำมีเขียนด้านหลังว่าTAHANAN ซึ่งแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า Detainee หรือแปลว่าผู้ถูกคุมขัง
ลาว
ชุดนักโทษทั่วไปของลาวเป็นสีน้ำเงินทั้งชุด มีแถบสีเหลือง ผู้ต้องขังปกติขณะเดินทางมาศาลจะต้องใส่กุญแจมือ แต่เมื่ออยู่ต่อหน้าศาลก็จะถอดออก ยกเว้นกรณีผู้ที่มีพฤติกรรมรุนแรงก็จะต้องใส่โซ่ตรวนด้วย
มาเลเซีย
ชุดนักโทษของมาเลเซียขณะอยู่ในเรือนจำเป็นชุดสีม่วงหรือสีส้มทั้งชุด แต่ต่างจากสิงคโปร์คือเป็น เสื้อกับกางเกงแยกกันไม่ใช่เป็นชิ้นเดียวที่ใส่เป็นทั้งเสื้อทั้งกางเกง
เมื่อผู้ต้องขังเดินทางมาศาลก็ต้องใส่ชุดลักษณะเหมือนกับที่ใส่ในเรือนจำไปด้วย ผู้ต้องขังได้รับอนุญาตให้ใส่รองเท้าได้ ผู้ต้องขังปกติขณะเดินทางมาศาลจะต้องใส่กุญแจมือและใส่ตรวนที่เท้าด้วย แต่เมื่ออยู่ต่อหน้าศาลก็จะถอดออกตรวนออกเหลือแต่เพียงกุญแจมือ
พม่า
ชุดนักโทษของพม่าขณะอยู่ในเรือนจำมีสามสี คือ สีส้ม สีน้ำเงิน และสีขาว สีส้มสำหรับนักโทษที่ถูกตัดสินประหารชีวิต สีน้ำเงินสำหรับนักโทษชายทั่วไป ส่วนนักโทษหญิงจะเป็นเสื้อสีขาวกับโสร่งสีน้ำตาล
เมื่อผู้ต้องขังเดินทางมาศาลก็ต้องใส่ชุดเฉพาะ ลักษณะเป็นเสื้อสีฟ้าและโสร่งสีน้ำเงิน ผู้ต้องขังได้รับอนุญาตให้ใส่รองเท้าได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะใส่รองเท้าแตะ และต้องใส่กุญแจมือ แต่เมื่ออยู่ต่อหน้าศาลก็จะถอดออก ผู้ต้องขังปกติไม่ต้องถูกตีตรวนยกเว้นผู้ต้องขังในคดีร้ายแรงหรือเคยมีประวัติก่อความรุนแรงมาก่อน ในพม่ายังมีตรวนอีกประเภทหนึ่งเป็นท่อนเหล็กที่เชื่อมระหว่างข้อเท้าทั้งสองข้างไม่ได้มีลักษณะเป็นโซ่ แต่เป็นแท่งเหล็กขนาดยาว ซึ่งจะทำให้ผู้ถูกตีตรวนเดินลำบากมาก ใช้กับผู้ต้องขังที่มีประวัติก่อเหตุรุนแรงหรือกรณีนักโทษที่ถูกตัดสินลงโทษสูงๆ และต้องถูกนำตัวมาศาล
ฟิลิปปินส์
ชุดนักโทษของฟิลิปปินส์ขณะอยู่ในเรือนจำเป็นเสื้อสีเหลืองกางเกงขาสั้นสีฟ้า บางจังหวัดก็อาจใช้ชุดที่แตกต่างออกไป เช่น นักโทษที่เมืองเซบู ใส่ชุดสีส้มทั้งเสื้อและกางเกง
เมื่อผู้ต้องขังเดินทางมาศาลก็ต้องใส่ชุดลักษณะเหมือนกับที่ใส่ในเรือนจำไปด้วย ผู้ต้องขังได้รับอนุญาตให้ใส่รองเท้าได้ ผู้ต้องขังปกติขณะเดินทางมาศาลจะต้องใส่กุญแจมือ แต่เมื่ออยู่ต่อหน้าศาลก็จะถอดออก สำหรับผู้ต้องขังในคดีที่มีชื่อเสียงขณะเดินทางมาศาลจะมีเสื้อเกราะกันกระสุนให้ใส่เป็นการเฉพาะด้วย
สิงคโปร์
ชุดนักโทษของสิงคโปร์ขณะอยู่ในเรือนจำมีหลายแบบมีทั้งเสื้อยืดสีส้มกางเกงสีน้ำเงิน และเสื้อยืดสีขาวกางเกงสีน้ำเงิน โดยทั่วไปแล้วก็จะเป็นเสื้อยืดและกางเกงขาสั้น
เมื่อผู้ต้องขังเดินทางมาศาลก็ต้องใส่ชุดเฉพาะ เป็นสีม่วงหรือสีส้มทั้งชุด ลักษณะเป็นชุดหมี คือเป็นชิ้นเดียวใส่เป็นทั้งเสื้อและกางเกง คล้ายนักโทษในหนังฮอลลีวู้ดของอเมริกา ผู้ที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำต้องใส่ชุดสีส้มแบบนี้ไปศาลไม่ว่าคดีจะถูกตัดสินหรือแล้วหรือยังอยู่ระหว่างการพิจารณาคดี ผู้ต้องขังได้รับอนุญาตให้ใส่รองเท้าได้ แต่ต้องเป็นรองเท้าแตะเท่านั้น ผู้ต้องขังปกติขณะเดินทางมาศาลต้องใส่กุญแจมือและกุญแจเท้าตลอดเวลาแม้กระทั่งขณะพิจารณาคดี และมีโซ่เส้นหนึ่งเชื่อมระหว่างกุญแจมือและกุญแจเท้า แต่ไม่ใช่การตีตรวน
ไทย
ชุดนักโทษของไทยขณะอยู่ในเรือนจำก่อนหน้านี้จะใส่อะไรก็ได้ เพิ่งมีการกำหนดข้อบังคับช่วงต้นปี 2556 วันธรรมดา นักโทษที่คดีถึงที่สุดแล้วหรือ “นักโทษเด็ดขาด" ต้องใส่เสื้อสีฟ้าและกางเกงสีกรมท่า ส่วนผู้ต้องขังที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดี หรือ "นักโทษระหว่าง" ต้องใส่เสื้อสีน้ำตาลและกางเกงสีน้ำตาลเข้ม ทั้งนี้ ไม่มีการบังคับรูปแบบเสื้อ เน้นเฉพาะสีเท่านั้น ส่วนในวันหยุดเสาร์อาทิตย์ สามารถใส่ชุดอะไรก็ได้
เมื่อมีการเยี่ยมญาติ ผู้ต้องขังจะต้องเปลี่ยนชุดที่ตัวเองใส่ มาเป็น "สีเหลือง" การพบทนายความ พบเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานข้างนอก พบเจ้าหน้าที่สถานทูต พนักงานสอบสวน หรือออกทำกิจกรรม เช่น เรียนหนังสือ ฝึกวิชาชีพ อบรมความรู้ต่างๆ หรือออกไปสถานพยาบาล ต้องใส่เสื้อสีฟ้า
นักโทษที่ทำหน้าที่คอยให้บริการงานต่างๆ ภายในเรือนจำ เช่น เดินส่งจดหมาย ส่งหนังสือระหว่างแดน ประจำจุดเยี่ยมญาติ จะบังคับให้ใส่เสื้อ "สีขาว" ไม่จำกัดแขนสั้น หรือแขนยาว และกางเกงขาสั้น "สีน้ำเงินเข้ม" นักโทษที่ทำงานกองนอกที่คอยให้บริการบริเวณพื้นที่โดยรอบเรือนจำ เช่น เก็บกวาดขยะ งานช่างต่างๆ  จะบังคับให้ใส่เสื้อแขนยาว "สีน้ำเงิน" และกางเกงขาสั้น "สีน้ำเงินเข้ม"
ส่วนนักโทษที่ต้องออกไปทำงานสาธารณะ เช่นลอกท่อน้ำ ตามสถานที่ต่างๆ ผู้ต้องขังกลุ่มนี้จะเรียกว่า "ทำงานสาธา" ซึ่งต้องออกไปนอกบริเวณเรือนจำ ชุดที่ใส่จะเป็นเสื้อแขนยาว "สีน้ำเงินเข้ม" ด้านหลังจะมีสกรีนคำว่า "งานสาธารณะ" บางแห่งอาจระบุชื่อเรือนจำตามท้ายด้วย ส่วนกางเกง เป็นกางเกงขาสั้น "สีน้ำเงินเข้ม"
กรณีที่ต้องเดินทางออกนอกเรือนจำ เพื่อไปยังศาล ผู้ต้องขังทุกคนจะต้องใส่ชุดสีน้ำตาล หรือที่เรียกกันว่าสีลูกวัว ชุดสีน้ำตาลนี้ ภายในเรือนจำจะเรียกกันง่ายๆ ว่า "ชุดออกศาล" เสื้อจะเป็นลักษณะเสื้อคอกลม ไม่มีกระเป๋าเสื้อ ไม่มีกระดุม ไม่มีซิป ส่วนกางเกง จะเป็นสีน้ำตาลเข้มกว่าสีเสื้อ ลักษณะคล้ายกางเกงเล แต่ขาสั้นกว่า คือมีกระเป๋าข้างแนบน่อง แล้วมีสายผ้า 2 เส้น สำหรับอ้อมมาผูกทางด้านหน้า
เมื่ออยู่ที่ศาลผู้ต้องขังไม่ได้รับอนุญาตให้ใส่รองเท้า นักโทษชายที่อายุไม่เกิน 60 ปีต้องถูกตีตรวนขณะเดินทางมาศาลและต้องใส่ตรวนอยู่ตลอดการพิจารณาคดีด้วย ถ้าอายุเกิน 60 ปี ถ้าต้องการจะไม่ใส่โซ่ตรวน ก็จะต้องทำหนังสือแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน
เวียดนาม
ชุดนักโทษของเวียดนามขณะอยู่ในเรือนจำเป็นชุดสีขาวลายแถบสีเขียว
เมื่อผู้ต้องขังเดินทางมาศาลก็ต้องใส่ชุดลักษณะเหมือนกับที่ใส่ในเรือนจำไปด้วย ผู้ต้องขังได้รับอนุญาตให้ใส่รองเท้าได้ ผู้ต้องขังปกติขณะเดินทางมาศาลไม่ต้องใส่กุญแจมือหรือโซ่ตรวน ยกเว้นกรณีเป็นบุคคลที่น่าจะมีอันตรายหรือมีประวัติว่ามีพฤติกรรมรุนแรง
*หมายเหตุ*
ข้อมูลทั้งหมดได้จากการสอบถามนักกฎหมาย นักกิจกรรม และอดีตนักโทษจากประเทศต่างๆ ไม่ใช่ข้อมูลอย่างเป็นทางการของกรมราชทัณฑ์
ASEAN Inmate Uniforms
As the ASEAN community approaching in 2015, and while we are discussing whether inmate uniforms are necessary or what they should be like? It is a good idea to take a look at other countries in the region, both at their uniforms and their appearance in the court.   
Inmate uniforms vary from country to country. The differentiation also depend on penitentiaries’ regulation and inmate categories. The regulation also changes from time to time. And so are inmate uniforms in Thailand, which depend on occasions. This piece only concern on the uniforms that inmate wore in the court since it was the time that they interact and engage with the outside world. 
Brunei
Little information is available for inmate uniform in Brunei. We cannot find a photograph of a Brunei inmate but we are told that their uniforms are orange.
Cambodia
Cambodian inmates who are found guilty wear dark-blue clothes with white stripes, while undertrial inmates wear light brown attire.
When taken to court, inmates wear the same clothes as in the prison. They are allowed to wear shoes. No shackles. Usually handcuffs will be removed during the hearing.
Indonesia
Inmates are not required to wear uniforms when taken to the court. They can wear their own clothes and shoes. Usually there are no handcuffed or shackled. Inmates accused of corruption must wear orange waistcoats with black stripes that have the word TAHANAN meaning “detainee” written on the back.
Laos
Lao inmates wear dark-blue uniform with yellow stripes.  When taken to court, they are allowed to wear shoes. They are usually handcuffed during the journey to the court and will be removed during the trial. No shackles except for inmates with the record of using violence.
Malaysia
Inmate uniforms in Malaysia are purple or orange tops and pants, which are unlike inmates in Singapore who wear purple or orange boiler suits.  
Malaysian inmates wear the same uniform when taken to court and are allowed to wear shoes. Usually there are handcuffed and shackled tying the ankles. Only the shackles will be removed during the hearing.
Myanmar
The Burmese inmates uniforms in prison come in three colors: orange, dark blue and white. Orange uniforms are for inmates who are sentenced to death. Dark blue is for male inmates. As for female inmates, they are required to wear white top with brown sarong.
When taken to court, they must wear specific uniform which is a blue top with dark-blue sarong. They are allowed to wear shoes and most prefer wearing slippers. Their wrists are tied by handcuffs which will be removed during the hearing. Usually inmates are not shackled except those who are in violent case or have record of using violence. In Myanmar, there is another kind of shackles which, instead of chains, is a long iron bar tying inmates’ ankles and cause difficulty in walking. It is used in inmates who have record of using violence or those accused in serious cases.
The Philippines
Filipino inmate uniforms consist of yellow tops and blue shorts. Inmates from different provinces wear different uniforms, for example, inmates in Cebu wear orange for both tops and pants.
They wear the same uniform when taken to court. They are allowed to wear shoes and usually they are handcuffed, but the handcuffs will be removed during the hearing. Famous inmates also wear bulletproof vest.
Singapore
There are several uniforms for inmates in Singapore, e.g., orange or white T-shirt  with dark- blue pants. Usually, the uniforms consist of T-shirt and shorts.
When taken to court, inmates, both convicted and under-trial, will be changed into purple or orange boiler suits as usually seen in American Hollywood films. They are allowed to wear only slippers and are handcuffed and footcuffed at all time, including during the hearing. There is also a chain connects handcuffs with footcuffs.
Thailand
Before the regulation was launched in 2013, Thai inmates were free to wear whatever they preferred inside the prison. Now the convicted inmates are required to wear blue tops with navy-blue trousers. Under-trial inmates are required to wear brown tops with dark-brown trousers. There is no requirement for what kind of top they should wear, just the color. On the weekend, they are allowed to wear whatever they like.
When there are relatives visiting, inmates must wear yellow. A meeting with lawyer, officers, attach?, inquiry officials; attending an activity, e.g., classrooms, specialized training; and going to a hospital, require inmates to wear blue.
Inmates with assigned duties such as letter/document delivery between sectors, staying at the meeting point must wear white tops which can be short or long sleeve and dark blue shorts. Inmates who work around penitentiary area doing, for example, potter or plumber jobs are required to wear long sleeve blue tops and dark-blue shorts.
Inmates that do public services such as ditch dredging, which require them to go outside penitentiary area must wear long sleeve dark blue tops with the word “Public Service” screened on the back. Some penitentiary also has its name on the top. The inmates are required to wear dark blue shorts.
When taken to the court, inmates are must wear brown or “calf-color” clothes known as “chute-aug-san” (Visit the Court). It is a round neck T-shirt that has no pocket, button, nor zip. The pants are darker-shade brown. They look similar to fisherman pants but shorter, with side pockets and strings for wrapping around the waist.
Inmates are not allowed to wear shoes in the court. Those whose age are less than 60 years old are shackled while taken to court and must remain so throughout the hearing. For inmates older than 60 years old who wish not to be shackled, he/she must submit the letter to the official.
Vietnam
Vietnamese inmates wear white clothes with green stripes.
They wear the same uniform when taken to court and are allowed to wear shoes. Usually there are no handcuffs or shackles except for inmates with the record of using violence.
Note:
All of the information above is acquired through the interviews with lawyers, activists and former inmates from many countries and are not formal information provided by the Department of Corrections.