ครม. เห็นชอบ ร่างพ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารฯ ฉบับใหม่ ซึ่งจะทำให้หลักการรจากเดิมที่ให้เปิดเผยเป็นหลัก ไม่เปิดเผยเป็นข้อยกเว้น กลายเป็น “ปกปิดเป็นหลัก เปิดเผยเป็นข้อยกเว้น” เช่น การกำหนดข้อยกเว้น “ห้ามเปิดเผย” ข้อมูลข่าวสารของราชการที่หากเปิดเผยแล้วอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และข้อมูลข่าวสารด้านความมั่นคงของรัฐในหลายๆ ด้าน
27 พฤษภาคม 2564 พ.ร.บ.การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ปี 2564 เริ่มมีผลบังคับใช้หลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยสาระสำคัญของ พ.ร.บ.การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ฉบับใหม่ คือ การเปิดทางให้ประชาชนสามารถเข้าชื่อเสนอร่างกฎหมายหรือร่างรัฐธรรมนูญต่อสภาผู้แทนราษฎรหรือประธานรัฐสภา (แล้วแต่กรณี) ได้สะดวกขึ้น
แม้พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จะประกาศใช้มาตั้งแต่ปี 2562 แต่พอถึงกำหนดบังคับใช้ รัฐบาล คสช.2 ก็เลื่อนการบังคับใช้ออกไป เป็นครั้งที่สองแล้ว บริษัทยักษ์ใหญ่ผู้เก็บข้อมูลก็ยังลอยตัว ไม่มีกฎหมายบังคับ ระหว่างนี้ยังเอาข้อมูลไปทำอะไรก็ได้ โดยไม่มีความชัดเจนว่าเมื่อใดถึงจะพร้อมใช้จริง แถมการเลื่อนครั้งนี้อ้างโควิด-19 กระทบเศรษฐกิจและสังคม
หลังการรัฐประหารปี 2557 องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญกลายเป็นส่วนของระบบเผด็จการ คสช. ตลอดเจ็ดปีที่ผ่านมา องค์กรเหล่านี้เข้ามายึดพื้นที่ทางการเมือง เป็นส่วนหนึ่งในการรักษาอำนาจ คสช. และทำลายฝ่ายตรงข้าม คสช.
ทบทวนบทบาทของ สนช. ที่แก้ไขรัฐธรรมนูญและกฎหมายหลายครั้งอย่างลับๆ เกี่ยวกับพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ เมื่อถึงยุคของ ส.ว. ก็ยังตั้งกมธ.พิทักษ์สถาบันฯ รวมทั้งขวางการ #แก้รัฐธรรมนูญ หมวดพระมหากษัตริย์ และอีก 38 มาตรา
ส.ว. "ชุดพิเศษ" 250 คน ที่มาจาก คสช. กลายเป็นองค์กรที่มีพื่อสืบทอดอำนาจของคสช. และขวาง #แก้รัฐธรรมนูญ แต่อำนาจหน้าที่ในกระบวนการออกกฎหมายก็ยังอยู่ในมือของพวกเขาด้วย ผลงานตลอด 2 ปีในตำแหน่ง พวกเขาลงมติผ่านร่างพระราชบัญญํติได้ 11 ฉบับ และอนุมัติพระราชกำหนดให้คณะรัฐมนตรีได้ 6 ฉบับ โดยเสียง เห็นชอบแทบจะไม่มีแตกแถว
หลังพล.อ.ประยุทธ์ เข้าดำรงตำแหน่งนายกฯ สมัยที่สอง ได้ใช้อำนาจในการไม่ให้คำรับรองกฎหมาย หรือ อำนาจในการปัดตกกฎหมาย ไปอย่างน้อย 21 ฉบับ และพบว่าในจำนวนดังกล่าวเป็น ร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับคุณภาพชีวิตประชาชน อย่างน้อย 11 ฉบับ และที่เกี่ยวกับสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง อย่างน้อย 4 ฉบับ
แม้ประเทศไทยจะเคยมีการทำประชามติมาแล้วหลายครั้ง แต่ก็ไม่เคยมีกฎหมายประชามติที่ใช้เป็นการทั่วไปมาก่อน ถ้าหากร่างพ.ร.บ.ประชามติฯ ผ่านการพิจารณาของรัฐสภา จะเป็นกฎหมายที่รองรับการจัดทำประชามติเพื่อให้ประชาชนผู้เป็นเจ้าของประเทศมีส่วนร่วมตัดสินใจได้ และรัฐสภา-ประชาชน ก็สามารถเสนอเรื่องประชามติได้
17 มีนาคม 2564 ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภามีนัดพิจารณา "ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ" หรือ ร่าง พ.ร.บ.ประชามติฯ ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว โดย ร่าง พ.ร.บ.ประชามติฯ ฉบับนี้ มีสาระสำคัญว่า การจัดประชามติจะกระทำได้ในสองกรณี คือ การแก้รัฐธรรมนูญ กับ ที่ครม. มีมติเสนอ และผลการตัดสินประชามติให้ใช้เสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิและผู้มาใช้สิทธิ อีกทั้ง ให้อำนาจ กกต. ในการกำกับการแสดงความคิดเห็นผ่านสื่อโทรทัศน์ รวมถึงมีบทลงโทษสำหรับการเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จซึ่งมีโทษจำคุกถึงห้าปี และปรับไม่เกิน 100,000 บาท
การพิจารณา #แก้รัฐธรรมนูญ วาระสอง ส.ว.บางรายได้ทิ้งประเด็นเกี่ยวพระราชอำนาจ 38 มาตรา นอกเหนือหมวด 2 ไว้ ซึ่งกลายเป็นเงื่อนไขสำคัญของ ส.ว. ใช้เป็นข้ออ้างในการคว่ำ #แก้รัฐธรรมนูญ ในวาระสาม โดยทั้ง 38 มาตรานั้น ล้วนมี keyword ที่ปรากฏในบทบัญญัติ คือ คำว่า "พระมหากษัตริย์"