8 มิ.ย. 2565 เดิมสภาผู้แทนราษฎรมีนัดพิจารณาร่างกฎหมายที่ต้องลงมติ “รับหลักการ” ในวาระหนึ่ง สามฉบับ ได้แก่ 1) ร่างพ.ร.บ.กัญชา กัญชง 2) ร่างพ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต #สุราก้าวหน้า และ 3) ร่างพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งฯ #สมรสเท่าเทียม แต่สภาพิจารณาแล้วเสร็จแค่สองฉบับแรก สมรสเท่าเทียมจึงต้องลุ้นต่อ 15 มิ.ย. 2565
8 มิถุนายน 2565 สภาผู้แทนราษฎร มีมติ “รับหลักการ” ร่างพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า ร่างพ.ร.บ. #สุราก้าวหน้า ด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย 178 เสียง ไม่เห็นด้วย 138 เสียง งดออกเสียง 15 เสียง
เมื่อ 9 ก.พ. 2565 ครม. อุ้มร่างกฎหมาย #สมรสเท่าเทียม ไปศึกษาก่อนที่สภาจะลงมติรับหลักการ โดยจัดรับฟังความเห็นจากหน่วยงานรัฐ หน่วยงานรัฐแปดหน่วยงานที่เห็นด้วยกับร่างกฎหมายดังกล่าว ขณะที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ให้ความเห็นต่อครม. ว่าไม่สมควรรับหลักการ
9-10 มิ.ย. 2565 ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา มีนัดปรึกษาร่างพ.ร.บ.เครื่องราชฯ ซึ่งนายกฯ ได้นำร่างขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อ 31 มกราคม 2565 แต่พระมหากษัตริย์ไม่ได้ลงพระปรมาภิไธยภายใน 90 วัน และไม่ได้พระราชทานร่างกฎหมายคืนกลับมา
6-10 มิ.ย. 2565 ฝ่ายนิติบัญญัติมีกำหนดนัดพิจารณาร่างกฎหมายที่น่าจับตาหลายฉบับ อาทิ ร่างพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต #สุราก้าวหน้า ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ #สมรสเท่าเทียม และร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งแก้ไขให้สอดคล้องกับการแก้รัฐธรรมนูญเรื่องระบบเลือกตั้ง
3 มิถุนายน 2565 เวลา 01.09 น. สภาผู้แทนราษฎรลงมติ “รับหลักการ” ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (ร่างพ.ร.บ.งบประมาณปี 2566) ด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย 278 เสียง ไม่เห็นด้วย 194 เสียง งดออกเสียง 2 เสียง
31 พฤษภาคม ถึง 2 มิถุนายน 2565 ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีวาระการพิจารณาหนึ่งในกฎหมายสำคัญ คือ ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (ร่างพ.ร.บ.งบประมาณปี 2566) ซึ่งตั้งวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีไว้ที่ 3,185,000 ล้านบาท (สามล้านหนึ่งแสนแปดหมื่นห้าพันล้านล้านบาท) เพิ่มจากปีงบประมาณ 2565 มา 85,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 2.74%
นับตั้งแต่วันที่ 23 ถึง 30 พฤษภาคม 2565 เป็นเวลาเกินกว่าหนึ่งสัปดาห์แล้ว ที่ภาคประชาชนจากภูมิภาคต่างๆ มารวมกันปักหลักที่หน้าอาคารสหประชาชาติบนถนนราชดำเนินนอกเพื่อเรียกร้องให้คณะรัฐมนตรียุติการพิจารณาให้ความเห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ.ควบคุมการรวมกลุ่ม หรือในชื่อจริงว่า ร่างพระราชบัญญัติการดำเนินกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากำไร พ.ศ. … หรือ NPO Bill (ร่าง พ.ร.บ.เอ็นพีโอ) เพราะหาก ครม. ผลักดันเข้าสู่สภาและผ่านเป็นกฎหมายจะก่อให้เกิด "ภัยใหญ่หลวง" ต่อการทำงานขององค์กรภาคประชาชน-ประชาสังคม
ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ยังมีร่างกฎหมายอีกจำนวนที่ยังรอให้ผู้แทนราษฎรพิจารณา และยังมีร่างกฎหมายถึง 10 ฉบับที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ใช้เทคนิคถ่วงเวลา ขอนำร่างกฎหมายไปศึกษาก่อน 60 วัน เช่น #สมรสเท่าเทียม #สุราก้าวหน้า ซึ่งร่างกฎหมายทั้ง 10 ฉบับนั้นยังต้องรอให้สภาผู้แทนราษฎรลงมติว่าจะ “รับหลักการ” หรือไม่
กระทรวงพม. เปิดรับฟังความเห็นต่อ ร่าง พ.ร.บ.องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรฯ โดยสาระสำคัญของกฎหมาย คือ การวางมาตรการให้องค์กรภาคประชาชน ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบสมาคม มูลนิธิ หรือคณะบุคคลต้องเปิดเผยข้อมูลให้รัฐและสาธารณชนเข้าถึง รวมถึงต้องไม่กระทำการอันกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อย ศีลธรรมอันดี และไม่ก่อให้เกิดความแตกแยก เป็นต้น