Laws Monitoring

พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลัง, สนช., ประชานิยม, งบประมาณร่ายจ่ายประจำปี
19 เมษายน 2561 ราชกิจจานุเบกษาประกาศใช้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 เป็นกฎหมายแล้ว ซึ่งจะผลต่อการจัดทำงบประมาณรายจ่ายปี 2562 โดยกฎหมายฉบับนี้มีหลักการสำคัญอย่างน้อย 3 ประการ ได้แก่ ห้ามประชานิยม ต้องมีแผนการคลังระยะปานกลาง และร้อยละ 20 ของเงินงบประมาณต้องตั้งเป็นงบลงทุน ทั้งนี้ หากไม่ปฏิบัติตามมีบทลงโทษตั้งแต่โทษทางปกครองถึงส่ง ปปช. วินิจฉัย
The Court of Justice propose a darft of Anti-SLAPP law
17 เมษายน 2561 สุริยัณห์ หงษ์วิไล โฆษกศาลยุติธรรมออกมาเปิดเผยว่า สำนักงานศาลยุติธรรมมีการเสนอเเก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เพื่อป้องกันการใช้สิทธิฟ้องคดีอาญาโดยมีเจตนาไม่สุจริต โดยร่างกฎหมายดังกล่าวอยู่ในการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา และจะส่งให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
NLA overturn NBTC candidates
ผลการประชุมลับเพื่อลงมติเลือก กรรมการ กสทช. ชุดใหม่ของ สนช. คือ ที่ประชุม สนช. ลงมติไม่เห็นชอบผู้สมัครกรรมการ กสทช. ทั้งหมด 14 คน การลงมติของ สนช. ครั้งนี้เท่ากับเป็นการคว่ำการคัดเลือกของ คณะกรรมการสรรหา กสทช. และจะต้องเริ่มกระบวนการสรรหาใหม่
stack paper
พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ ฉบับปัจจุบัน ใช้มากว่า 20 ปี และกำลังถูกเสนอให้แก้ไขปรับปรุง แม้หลายประเด็นมุ่งคุ้มครองการเข้าถึงข้อมูลของประชาชนมากขึ้น แต่ก็ยังมีข้อกังวลเรื่องกรรมการที่มาจากปลัดทุกกระทรวง และเรื่องเอกสารลับที่อาจไม่ถูกเก็บเป็นประวัติศาสตร์ 
NLA
วันที่ 22 มีนาคม 2561 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติเห็นชอบให้ขยายเวลาการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ… เป็นครั้งที่ 6 ออกไปอีก 60 วัน ทำให้กฎหมายดังกล่าวถูกเลื่อนการพิจารณาออกไปนานกว่า 1 ปีแล้ว นับตั้งแต่สนช.มีมติรับหลักการเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2560 ทั้งนี้ กมธ. ผู้รับผิดชอบร่างอ้างเหตุว่า ต้องการพิจารณากฎหมายอย่างรอบคอบ ประกอบกับที่ผ่านมามีเอกชนให้ความเห็นในเชิงคัดค้าน อย่างไรก็ดี  วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ยืนยันกฎหมายบังคับใช้แน่ปี 2562 ย้ำ ขยายเวลาเพื่อพิจารณาลดภาษีให้เอกชนบางราย 
ในรอบสี่ปีของของรัฐบาล คสช. สนช. ได้เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณฯ รวมทั้งสิ้นสามฉบับ ซึ่งเป็นการอนุมัติงบประมาณเพิ่มเติมรวมเป็นเงินจำนวน 399,000,000,000 บาท โดยการพิจารณาทุกครั้งเป็นไปอย่างรวดเร็วภายในวันเดียว
การตั้งพรรคการเมืองตาม พ.ร.ป.พรรคการเมือง ค่อนข้างที่จะเป็นเรื่องยาก ไม่ว่าจะเป็นการต้องใช้ผู้ร่วมจัดตั้งพรรคถึง 500 คน แล้วภายใน 1 ปียังต้องมีสมาชิกพรรคไม่น้อยกว่า 5,000 คน รวมถึงต้องตั้งสาขาพรรคการเมืองในแต่ละภาคอย่างน้อย 1 สาขา และมีทุนประเดิมการตั้งพรรคอย่างน้อย 1,000,000 บาท โดยผู้ร่วมจัดตั้งพรรคทุกคนต้องร่วมจ่ายคนละอย่างน้อย 1,000 บาทแต่ไม่เกิน 50,000 บาท แต่ทว่า การสิ้นสุดของพรรคการเมืองกลับมีเหตุผลและเงื่อนไขจำนวนมากที่จะทำให้ยุบพรรคได้ง่ายๆ ซึ่งมีด้วยกันทั้งหมด 18 ข้อ ตาม พ.ร.ป.พรรคการเมือง
์NLA
ประเด็นที่เป็นปัญหาใน ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยที่มา ส.ส.ฯ คณะกรรมาธิการร่วมสามฝ่ายที่ประกอบไปด้วยตัวแทนจาก สนช. กรธ. และประธาน กกต. มีมติร่วมกัน ในประเด็นสำคัญ คือห้ามจัดมหรสพ ผู้สมัครพรรคเดียวกันลงหลายเขตใช้คนละเบอร์
NLA
ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยที่มา ส.ว.ฯ ยังไม่เป็นที่ถูกใจของผู้ที่เกี่ยวข้องเสียที นำไปสู่การตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญร่วมสามฝ่ายซึ่งประกอบไปด้วยประธาน กกต., กรธ. 5 คน และสนช. 5 คน และก็เคาะผลลัพธ์กันออกมา กลายเป็นมีสองระบบในบททั่วไปกับในบทเฉพาะกาล
organic law on the national human rights committee
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นองค์กรอิสระที่มุ่งหวังให้มีกลไกอิสระ เพื่อทำหน้าที่ส่งเสริม คุ้มครอง และพิทักษ์สิทธิเสรีภาพของประชาชนให้มีผลปรากฏเป็นจริง  แต่เมื่อเปลี่ยนรัฐธรรมนูญใหม่เป็นรัฐธรรมนูญปี 2560 คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ต้องตรากฎหมายลูกอย่าง พ.ร.ป.กสม. ขึ้นมา และเปลี่ยนให้องค์กรตรวจสอบเป็นกระบอกเสียงรัฐ