ในยุคของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีความพยายามในการบริหารจัดการน้ำด้วยการใช้ ม.44 ออกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 46/2560 ตั้งสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นหน่วยงานขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่เกี่ยวกับการบริการจัดการน้ำ และมีอํานาจจัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราว และขอเจ้าหน้าที่ในส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ มาปฏิบัติหน้าที่ได้ตามความจําเป็นและเหมาะสม รวมถึงการแก้ไขและพยายามผ่านร่างกฎหมายทรัพยากรน้ำ ทว่าเวลาผ่านมาเนิ่นนานนับปี ที่ประชุมก็ยังไม่มีมติผ่านร่างดังกล่าว เนื่องจากมีการถกเถียงและอภิปรายที่ยังไม่ลงตัว
การบริหารงานในยุคสมัยของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ถือว่าการขึ้นเงินเดือนให้ข้าราชการเป็นเรื่องสำคัญ อันจะเห็นได้จากการแถลงนโยบายต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ของคณะรัฐมนตรีที่นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2557 ที่ระบุถึงการจัดระบบอัตราและปรับปรุงค่าตอบแทนบุคลากรภาครัฐให้เหมาะสมและเป็นธรรม ยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี การบริหารจัดการภาครัฐแบบใหม่ ดังนั้น ในช่วงที่ คสช. เข้ามาบริหารประเทศจึงมีกฎหมายขึ้นเงินเดือนให้กับข้าราชการไปแล้วอย่างน้อย 12 ฉบับ
วันที่ 1 ก.ย. 2560 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ รับหลักการร่าง พ.ร.บ.การพัฒนาการกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ โดยจะมีการนำรัฐวิสาหกิจเข้ามาอยู่รวมกันภายใต้บรรษัทวิสาหกิจ ซึ่งจะมีรัฐวิสาหกิจจำนวน 11 แห่ง รวมทั้งมีการจัดตั้งบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติ
กฎหมาย ป.ป.ช. ใหม่เริ่มใช้บังคับแล้ว วางโครงสร้างใหม่แทนกฎหมายเดิมทั้งหมด โดยให้ ป.ป.ช. มีอำนาจใหม่เพิ่มเติมในการวินิจฉัย ผู้ที่ฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง การที่ ส.ส. ส.ว. ออกกฎหมายให้ตัวเองใช้งบประมาณ และที่สำคัญ คือ ผู้ที่ไม่ทำตามยุทธศาสตร์ชาติ
กฎหมาย ป.ป.ช. ใหม่เริ่มใช้บังคับแล้ว วางโครงสร้างใหม่แทนกฎหมายเดิมทั้งหมด โดยเน้นเรื่องการป้องกันการทุจริตด้วย กำหนดช่องทางการคุ้มครองผู้ชี้เบาะแส การให้รางวัลผู้เปิดโปง และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการต่อต้านทุจริต
กฎหมาย ป.ป.ช. ใหม่เริ่มใช้บังคับแล้ว วางโครงสร้างใหม่แทนกฎหมายเดิมทั้งหมด หวังเพิ่มประสิทธิภาพการเอาคนทุจริตมาคติดคุก โดยเพิ่มอำนาจแสวงหาข้อเท็จจริงให้ ป.ป.ช. ลดภาระงาน ให้ ป.ป.ช. ทำแต่คดีใหญ่ และกำหนดเวลาบีบให้ ป.ป.ช. ต้องสั่งคดีภายในสองปี
กฎหมาย ป.ป.ช. ใหม่เริ่มใช้บังคับแล้ว วางโครงสร้างการปราบทุจริตแทนกฎหมายเดิมทั้งหมด เพิ่มอำนาจใหม่ที่อาจมีผลเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ออกแบบการคัดสรรทั้งกรรมการและเจ้าหน้าที่ให้เป็นทีมงานคุณสมบัติสูง โปร่งใสถูกตรวจสอบได้ เปรียบดัง “เทวดา”
การยื่นถอดถอน ชำนาญ รวิวรรณพงษ์ “กรรมการตุลาการศาลยุติธรรม” ทำให้สังคมได้รู้จักชื่อของ "คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม" หรือ ก.ต. มากขึ้น ก.ต. เป็นหนึ่งในสามองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่บริหารงานของศาลยุติธรรม และ สนช. กำลังพิจารณาแก้ไขที่มาของ ก.ต. ซึ่งจะทำให้ผู้พิพากษาเป็นผู้เลือกเองทั้งหมด
ร่าง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร เป็นกฎหมายที่กำลังจัดทำเพื่อนำไปสู่การเลือกตั้งท้องถิ่น ร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวเป็นที่จับตามองภายหลังมีข้อเสนอยุบสภาเขตกรุงเทพฯ (ส.ข.) สภาที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งมีความกังวลว่าจะสวนทางกับการกระจายอำนาจจากส่วนกลางสู่ท้องถิ่นเพื่อเพิ่มให้กับประชาชน
พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560 แก้ไขใหม่เพื่อป้องกันการนำ พ.ร.บ.คอมฯ มาใช้ฟ้องหมิ่นประมาทกับประชาชน แต่ยังถูกนำมาใช้ดำเนินคดีกับประชาชนเหมือนเดิม โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล