ร่างกฎหมายการเลือกตั้งท้องถิ่นฯ ซึ่งจะเป็นแม่บทในการจัดการเลือกตั้ง อปท.ทุกระดับจำนวน ตั้งแต่ อบจ. เทศบาล อบต. กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา ซึ่งร่างกฎหมายฉบับนี้จะผ่านความเห็นชอบจาก สนช. ในวันที่ 24 ม.ค. 2562 โดยมีเนื้อหาที่น่าสนใจดังนี้
18 มกราคม 2561 สนช. นัดพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.กสทช. ในวาระที่สาม (เห็นชอบเป็นกฎหมาย) ซึ่งเป็นการก้กฎหมายของ กสทช. เป็นครั้งที่สองของสภานี้ โดยร่างกฎหมายกสทช. ฉบับใหม่ มีสาระสำคัญ คือ เพิ่มบทบัญญัติเพื่อการใช้วงโคจรดาวเทียมให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ และแก้ไขเรื่องอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกสทช. ในเรื่องการบริหารจัดการคลื่นความถี่
ช่วงโค้งสุดท้าย ก่อนที่ สนช. จะหมดอายุไปภายหลังการเลือกตั้ง มีกฎหมายที่เป็นประโยชน์กับประชาชนถูกเสนอหรือเตรียมที่จะเสนอเข้าสู่การพิจารณาจำนวนไม่น้อย ตัวอย่างเช่น ร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต ร่างพ.ร.บ.ป้องกันการทรมานฯ วิเคราะห์เหตุจูงใจทางการเมืองทำไมถึงมากันเยอะในช่วงนี้
ในปี 2561 จำนวนคดี พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากการแชร์ข้อความบนโลกออนไลน์ โดยเฉพาะข้อความที่แสดงความคิดเห็นหรือวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐ มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น รวมถึงมีการนำ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาใช้ข่มขู่การแชร์ข้อมูลบนโลกออนไลน์
22 พฤศจิกายน 2561 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติเห็นชอบ เลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อดีตปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ ฐิติเชฏฐ์ นุชนาฎ ทนายความ ด้วยคะแนนเสียง 148 ต่อ 28 งดออกเสียง 8 เสียง และคะแนนเสียง 149 ต่อ 27 งดออกเสียง 8 เสียง ตามลำดับ ซึ่งส่งผลให้ทั้งสองคนได้รับเลือกเป็นหนึ่งในเจ็ดคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ชุดใหม่ และถือเป็นการปิดฉากมหากาพย์การสรรหา กกต. ชุดใหม่ ในยุคคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
สนช. พิจารณาแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหาร ในประเด็นยกเลิกอัตราเงินเดือนข้าราชการทหารของนายทหารยศจอมพล แก้ไขเป็นให้นายทหารยศพลเอกพิเศษ และให้นายทหารยศพลเอก ได้รับเงินเดือนเท่ากับนายทหารยศพลเอกพิเศษ ซึ่งจะได้รับเงินเดือน ต่ำสุดอยู่ที่ 56,117 และสูงสุดอยู่ที่ 76,604 บาท
8 พฤศจิกายน 2561 ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีมติรับหลักการ ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หรือ ร่าง พ.ร.บ.แก้ไข ป.วิอาญา ฉบับที่สมาชิก สนช. นำโดย มหรรณพ เดชวิทักษ์ เป็นผู้เสนอ โดยสมาชิก สนช. มีมติเห็นด้วยกับ ร่าง พ.ร.บ.แก้ไข ป.วิอาญาฉบับนี้ ด้วยเสียง 188 เสียง งดออกเสียง 6 เสียง โดยไม่มีผู้ไม่เห็นด้วย
พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2561 ถูกบรรจุระเบียบวาระการประชุมที่ 71/2561 ซึ่งไม่ได้แนบเอกสารที่เกี่ยวกับไว้ในเว็บไซต์ สนช. อย่างไรก็ตาม วันที่ 25 ตุลาคม 2561 ที่ประชุมลับสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ก็เห็นชอบ พ.ร.บ.ฉบับนี้ ด้วยคะแนนเห็นชอบ 194 เสียง งดออกเสียง 3 เสียง การประกาศใช้ พ.ร.บ.ฉบับนี้ มีผลทำให้ “พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2560” ซึ่ง สนช. เพิ่งเห็นชอบไปเมื่อปีที่แล้วต้องถูกยกเลิกไป สำหรับความแตกต่างของ พ.ร.บ.ทั้งสองฉบับมีดังนี้
11 ตุลาคม 2561 'ร่าง พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. …' กลับมาอีกครั้ง โดยเนื้อหาของ ร่าง พ.ร.บ.มั่นคงไซเบอร์ฯ ฉบับใหม่ ยังให้อำนาจรัฐเข้าถึงข้อมูลของประชาชนได้ เพียงแค่มีเหตุอันควรสงสัยว่าคนนั้นเกี่ยวข้องกับภัยคุกคามไซเบอร์ และเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามไซเบอร์ ยังให้อำนาจเจ้าหน้าที่บุกตรวจค้นและยึดคอมพิวเตอร์ได้ทันที โดยไม่ต้องมีหมายศาลเหมือนเดิม
วันที่ 25 ตุลาคม 2561 ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) รับหลักการ ร่าง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม (ฉบับที่ ....) ด้วยคะแนนเห็นชอบ 181 เสียง ไม่เห็นชอบ 0 เสียง เหตุผลของการเสนอ ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ คือ การเพิ่มอำนาจหน้าที่ให้คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม (ก.บ.ศ.) ให้สามารถออกระเบียบกำหนดเบี้ยประชุมสำหรับข้าราชการตุลาการซึ่งเข้าร่วมการประชุมใหญ่ในศาลชั้นอุทธรณ์หรือศาลฎีกา ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 193 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติให้ศาลยุติธรรมมีระบบเงินเดือนและค่าตอบแทนเป็นการเฉพาะตามความเหมาะสม