Laws Monitoring

ผศ.ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และหัวหน้าศูนย์ศึกษากฎหมายกับเทคโนโลยี ชวนทำความรู้จัก พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กฎหมายพื้นฐานในการคุ้มครองความเป็นส่วนตัว แต่เปิดช่องให้รัฐสอดส่องหรือตรวจสอบกิจกรรมของพลเมืองบนพื้นที่ไซเบอร์ในรูปแบบต่างๆ 
Bangkok elections
เมื่อ 16 เมษายน 2562 ราชกิจจานุเบกษาประกาศใช้กฎหมายเลือกตั้งท้องถิ่นของชาวกรุงเทพฯ ซึ่งในเนื้อหาได้มีความแตกต่างจากกฎหมายเดิมหลายประการโดยสิ่งที่น่าจับตาในกฎหมายที่แก้ไขใหม่นี้คือเรื่องการยื่นดาบให้บิ๊กป็อกตรวจสอบและสั่งฟันคุณสมบัติส.ก.และผู้ว่ากทม.
สาระสำคัญของกฎหมายดังกล่าว คือ การจัดสรรงบประมาณให้กับหน่วยงานต่างๆ ตามยุทธศาสตร์ โดยงบที่ได้รับการจัดสรรสูงที่สุดคือ 'งบกลาง' อีกทั้งยังเป็นงบที่เพิ่มสูงขึ้นที่สุดในปีนี้ ด้านงบกระทรวงกลาโหมหรืองบของกองทัพยังติดอยู่ใน 5 อันดับที่ได้รับการจัดสรรเงินสูงสุด รวมถึงเป็นหน่วยงานที่ขอเงินเพิ่มมากที่สุดเป็นอันดับที่ 5 ด้วยเช่นกัน
ส.ส. ได้ลงคะแนนเพื่ออนุมัติ พ.ร.ก.โอนอัตรากำลังพลฯ ซึ่งผลการลงมติมีคะแนนเสียง เห็นชอบ 376 เสียง  ไม่เห็นชอบ 70 เสียง งดออกเสียง 2 เสียง มีผู้เข้าร่วมประชุมสภาฯทั้งหมด 444 คน ในระหว่างการพิจารณา ปิยบุตร แสงกนกกุล ส.ส.พรรคอนาคตใหม่ ได้อภิปรายไม่เห็นชอบการออก พ.ร.ก.ดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่า ไม่เห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่ ค.ร.ม. จะออก พ.ร.ก.ฉบับนี้ ซึ่งถือว่าไม่เป็นไปตาม ร.ธ.น.มาตรา 172 วรรคสอง
พรรคอนาคตใหม่เตรียมเสนอร่างกฎหมายเกี่ยวกับการเกณฑ์ทหารในการประชุมสภาสมัยหน้า ช่วงเดือนพฤศจิกายน 2562 อย่างน้อย 2 ฉบับ เปลี่ยนระบบ “เกณฑ์ทหาร” เป็นระบบ “สมัครใจ” ระบุชัดเจนว่าการฝึกทหารต้องยึดหลักสิทธิมนุษยชน รวมถึงเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ พร้อมให้เงินเดือน และสวัสดิการต่างๆ ในช่วงฝึกและเมื่อฝึกเสร็จ  
Fake News
กระแสความเป็นห่วงเป็นใยต่อการแพร่หลายของ ข่าวปลอม หรือ FakeNewsมาพร้อมกับอิทธิพลของโซเชียลมีเดีย แต่หากการบังคับใช้กฎหมายตกอยู่ในมือของขั้วอำนาจทางการเมือง ข้ออ้างว่า "ต่อต้านข่าวปลอม" อาจกลายเป็นการวิพากษ์วิจารณ์โดยสุจริตก็เป็นได้
personal data
สำหรับผู้ประกอบการที่เคยเก็บข้อมูลของลูกค้า ลูกจ้าง ผู้มาติดต่อ หรือเคยนำข้อมูลมาเพื่อวิเคราะห์และพัฒนาการขาย กำลังต้องเตรียมปรับตัวใหญ่ ตามพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ ที่เพิ่งประกาศใช้ โดยหลัก คือ การเก็บข้อมูลทุกครั้งต้องขอความยินยอมเป็นหนังสือ โดยต้องแจ้งรายละเอียดและสิทธิของเจ้าของข้อมูลให้ถูกต้อง
personal data
พ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคคลฯ ซึ่งผ่านการพิจารณาโดย สนช. ในช่วงโค้งสุดท้าย เป็นกฎหมายที่ประชาชนเฝ้ารอมานานเพื่อจะได้ใช้ชีวิตในโลกออนไลน์ได้อย่างสบายใจมากขึ้น แต่ร่างฉบับที่ผ่านในยุคของรัฐบาลทหารกลับเขียนข้อยกเว้นไว้กว้างขวางจนแทบจะไม่เหลือที่ใช้เพื่อคุ้มครองข้อมูลจริงๆ โดยเฉพาะการยกเว้นไม่คุ้มครองข้อมูลในกิจการของหน่วยงานรัฐ
9 กรกฎาคม 2562 พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ออกคำสั่งหัวหน้าคสช. ที่ 9/2562 ยกเลิกบรรดาประกาศและคำสั่งคสช. และคำสั่งหัวหน้าคสช. อย่างน้อย 70 ฉบับ และแก้ไขอีก 2 ฉบับ ซึ่งคำสั่งนี้มีเนื้อหาสอดคล้องกับกฎหมายที่ภาคประชาชนเสนอต่อสภาให้พิจารณายกเลิกอย่างน้อย 13 ฉบับ
เป็นเวลา 3 ปีเศษแล้วที่สังคมไทยต้องอยู่ภายใต้ พ.ร.บ.ชุมนุมฯ ซึ่งออกโดยสนช. สภาที่มาจากการแต่งตั้งโดยคสช. โดยกฎหมายฉบับดังกล่าวได้กลายเป็นเครืองมือสำคัญของเจ้าหน้าที่รัฐในการเข้ามา"จำกัดและแทรกแซง" การใช้เสรีภาพในการชุมนุมโดยเฉพาะมาตรา19 (5) ที่เปิดช่องให้เจ้าหน้าที่ใช้"ดุลยพินิจ" วางเงื่อนในการชุมนุมจนกลายเป็นการลดทอนคุณค่าของการใช้เสรีภาพในการชุมนุม