28 ก.พ. 2566 ส.ส. 100 คน เข้าชื่อกันเสนอต่อประธานสภา เพื่อส่งเรื่องไปศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้วินิจฉัยว่า พ.ร.ก. เลื่อนบังคับใช้พ.ร.บ.อุ้มหายฯ นั้นไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 172 กำหนด
28 ก.พ. 2566 สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา มีวาระพิจารณาอนุมัติพ.ร.ก. แก้ไขพ.ร.บ.ป้องกันทรมานอุ้มหายฯ ที่ครม. ออกมาเพื่อ “เลื่อน” การบังคับใช้พ.ร.บ.ป้องกันทรมานอุ้มหายฯ 4 มาตราที่เกี่ยวกับกลไกการป้องกันการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายออกไป
21 ก.พ. 2566 ที่ประชุมวุฒิสภามีมติ “ไม่เห็นด้วย” กับการส่งให้ครม. จัดทำประชามติเพื่อถามประชาชนว่าสมควรจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับหรือไม่ ด้วยคะแนนเสียง ไม่เห็นด้วย 157 เสียง เห็นด้วย 12 เสียง งดออกเสียง 13 เสียง ไม่ลงคะแนนเสียง 1 เสียง เป็นอันว่าเรื่องดังกล่าวนั้นตกไป
8 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ประชุมรัฐสภามีกำหนดพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... เสนอโดยพรรคเพื่อไทย ให้ยกเลิกมาตรา 272 ประธานกดออดเพื่อนับองค์ประชุมก่อนลงคะแนนในญัตติ แต่เมื่อตรวจสอบแล้วพบว่าไม่ถึงกึ่งหนึ่ง จึงทำให้ต้องปิดประชุม และพบว่ามี ส.ว. แจ้งลาประชุมสูงถึง 95 คน
7 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ประชุมรัฐสภาร่วมกันของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาพิจารณาร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ. …. (ร่างพ.ร.บ. จริยธรรมสื่อฯ) ท้ายที่สุดก่อนการลงคะแนน เช็คองค์ประชุมแล้วไม่ถึงกึ่งหนึ่ง ทำให้ประธานในที่ประชุมสั่งปิดประชุม ส่วนร่างกฎหมายก็ต้องเลื่อนไปลงมติในวาระปกติของที่ประชุมรัฐสภาครั้งหน้า
ร่างพ.ร.บ. จริยธรรมสื่อฯ เป็นความพยายามในการสร้างหลังพิงทางกฎหมายให้องค์กรสื่อและคนทำงานสื่อสามารถกำกับดูแลกันเองได้ แต่ก็ยังมีเครื่องหมายคำถามชิ้นโตถึงความอิสระของ "สภาวิชาชีพสื่อมวลชน" ที่รับเงินจากรัฐ รวมถึงการให้พื้นที่คนจากของค์กร "สื่อแบบดั้งเดิม" แต่ไม่มีพื้นที่สำหรับ "สื่อใหม่" ในภูมิทัศน์สื่อที่กำลังเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว
20 ธันวาคม 2565 วุฒิสภาเห็นชอบให้กมธ. ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อพิจารณาศึกษาญัตติขอให้สภามีมติส่งเรื่องที่มีเหตุสมควรจะให้มีการออกเสียง ประชามติให้คณะรัฐมนตรีดำเนินการ ขยายเวลาพิจารณาออกไปอีก 45 วัน
กลับมาอีกครั้งกับความพยายามควบคุมเนื้อหาในสื่อมวลชน โดยเวอร์ชั่นนี้มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาสำคัญหลายอย่าง เช่นการตัดตัวแทนรัฐออกไปจากกรรมการ แต่ก็ยังมีผู้กังขาว่าสภาวิชาชีพสื่อจะอิสระจริงหรือไม่ เนื่องจากยังต้องพึ่งพาเงินจากรัฐ รวมถึงประเด็นเรื่องการขาดการมีส่วนร่วม โดยเฉพาะจาก "สื่อพลเมือง"
ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2563 ถึงเดือนธันวาคม 2565 รัฐสภาร่วมกันระหว่าง ส.ส. และ ส.ว. ต้องอภิปรายลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งหมด ห้ายก รวมทั้งหมด 26 ข้อเสนอ รวมสถิติที่น่าสนใจในศึกการแก้รัฐธรรมนูญที่ผ่านมา
เป็นเวลากว่า 180 วัน หรือ 6 เดือนแล้ว ที่ประเทศไทยต้องเจอกับภาวะ “สูญญากาศทางกฎหมาย” ในการควบคุมกัญชา เพราะนับตั้งแต่กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศปลดกัญชาออกจากการเป็นยาเสพติดตั้งแต่เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565 กัญชาก็ได้กลายเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมายไม่ต่างจากพืชผักผลไม้ตามท้องตลาด